2021 ขายของ Shopee เสียภาษีไหม แล้วเอายอดจากไหนมายื่นภาษี?

ขายของ Shopee เสียภาษีไหม

ขายของ Shopee เสียภาษีไหม?

เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์เลยก็ว่าได้ บทความนี้ทีมงานจะขอสรุปเป็นหัวข้อๆ เพื่อคลายข้อสงสัยไม่มากก็น้อย
โดยจะเน้นไปที่การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท) เนื้อหาอาจจะดูเยอะ แต่คัดสรรมาเน้น ๆ จุก ๆ ให้ได้อ่านและสำรวจตัวเองกันครับ (เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายทีมงานจะลดการใช้คำศัพท์ทางภาษีให้น้อยที่สุดนะครับ โดยสามารถจิ้มที่หัวข้อต่าง ๆ เพื่อขยายรายละเอียดของหัวข้อนั้น ๆ อ่านได้เลย 😅)

ตอบ เสียครับ ถ้า.. “รายได้ของพ่อค้าแม่ค้าถึงเกณฑ์เสียภาษี” แต่ก่อนอื่นอยากให้แยกระหว่างคำว่า “เสียภาษี” กับ “ยื่นภาษี” ก่อน
คำว่า “ยื่นภาษี” หมายถึง การยื่นแบบแสดงรายการว่าเรามีรายได้ให้แก่ทางสรรพากร (ยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็ได้/ยื่นที่สำนักงานสรรพากรก็ได้) ส่วนคำว่า “เสียภาษี” (เสียเงินค่าภาษีให้รัฐ) หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ “ยอดรายได้” ที่เรา “ยื่นภาษี” ว่าถึงเกณฑ์ชำระภาษีหรือเปล่า ( ยื่นไปแล้ว ในขั้นตอนการยื่นยังสามารถยื่นหักลบค่าใช้จ่ายและค่าลด(หย่อน)ได้ด้วยนะ )

แล้วเบื้องต้นทุกคนต้อง “ยื่นภาษี” หรือไม่? ตอบให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า หากรายได้ (รายได้คือเงินที่เราขายของได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งหมดนะ 😅) ต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป (หรือรวมแล้วเท่ากับหรือเกิน 60,000 บาท/ปี) ก็ต้อง “ยื่นภาษี” ทุกคน  แต่เดี๋ยวก่อน! ใครที่สละโสดแต่งงานเเล้วหลักเกณฑ์จะเปลี่ยนไปตรงที่ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำก็จะขยับขึ้นเป็น 120,000 บาท/ปี เรียกง่ายๆ ว่า “ทั้งเดือน” สองคนมีรายได้รวมกันเท่ากับหรือเกิน 10,000 บาทนั่นเอง ดังนั้น ข้อที่ 1 นี้ให้เช็คตัวเองก่อนว่าเรามีรายได้เข้าเกณฑ์แบบนี้หรือเปล่านะ? และเอาล่ะ ถ้าเช็คแล้วว่าไม่เข้าเงื่อนไขก็ไม่ต้องยื่น เมื่อไม่ต้องยื่นก็ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง แต่เดี๋ยว! เดือนนี้เช็คแล้วไม่เข้าเกณฑ์แต่ถ้าเดือนหน้าขายดีมากก เดือนเดียวมีรายได้เข้ามาเยอะ ก็อย่าลืมทบทวนตัวเองอยู่เรื่อยๆ ว่าวันนี้เราเข้าเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีหรือยังนะ 😅

“แม้ว่าจะไม่เสีย(เงิน)ภาษี  แต่ก็ยังต้องยื่นภาษี(ถ้ารายได้เข้าเกณฑ์) ถ้าเข้าเกณฑ์แล้วไม่ยื่น อาจโดนโทษไม่เกิน 2,000 บาท และถ้าโดนปรับ(กะตังค์)เสร็จเรียบร้อยแล้วตรวจพบว่า ที่ไม่ยื่นในวันนั้น วันนี้ตรวจย้อนไปแล้วต้องเสีย(เงิน)ภาษี ก็จะโดนเสียเงินเพิ่มในอัตรายอดต้องชำระ * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ด้วยนะ ถ้าไม่มียอดภาษีที่ต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมนั่นเอง”

สรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ในการยื่นภาษี (เลือกอ่านหรือไม่ก็ได้ครับ แต่อ่านแล้วอาจจะมี งง นิด ๆ 😅)

1. มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000฿ หรือตกเดือนละ ฿10,000
2. มีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีไม่เกิน 60,000฿ หรือเดือนละ 5,000฿ (พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เข้าเงื่อนไขนี้)
3. สมรสจดทะเบียนตามกฎหมายและทั้งคู่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว รวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 220,000฿ หรือตกเดือนละ 18,333.33฿
4. สมรสจดทะเบียนตามกฎหมาย และทั้งคู่มีรายได้รวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000฿ หรือตกเดือนละ 10,000฿
5. มีรายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร, ดอกเบี้ยพันธบัตร, ดอกเบี้ยหุ้นกู้,  ส่วนต่าง Discount bond, เงินปันผลของบริษัทห้างร้าน, กำไรจากการขายตราสารหนี้ แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย (ภาษีสุดท้าย คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้)
6. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มาแล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
7. มีรายได้จากเงินปันผล จากกองทุนรวม แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
8. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่ไม่ได้มุ่งหากำไร แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย

ตอบ กรณีที่เราขายผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada สรรพากรรู้ได้จากรายการที่แพลตฟอร์มทั้งสอง (Shopee/Lazada) แจกแจงรายได้ (ก็คือการยื่นแสดงรายการภาษีนั่นแหละ) ให้สรรพากรว่า..รายรับค่าธรรมเนียมการขาย / ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงิน / ค่าธรรมเนียมค่าบริการ / ค่าขนส่ง / ค่าธรรมเนียมอื่นๆ  (ซึ่งถือเป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม) มาจากร้านค้าใดบ้าง (ซึ่งข้อมูลร้านค้าอาจประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน จากข้อมูลที่เราลงทะเบียนไว้กับช้อปปี้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง) ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าเองต้องอย่าลืมว่า..ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่แพลตฟอร์มคิดจากออเดอร์ของเรานั้น ถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ( ก็คือเอาเปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมไปคูณ(x)ออกมาเป็นค่าธรรมเนียม(บาท)นั่นแหละ ) ดังนั้นต่อให้สรรพากรจะไม่รู้ว่ารายรับเต็ม ๆ ของเราเท่าไหร่ แต่ก็สามารถคำนวณกลับมาได้ว่าค่าธรรมเนียมที่แพลตฟอร์มทั้งสองได้จากเรา เมื่อทำการคูณกลับ (คูณย้อนไป) ด้วยเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมของแต่ละแพลตฟอร์มแล้ว…รายได้ของเราจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่นั่นเอง แต่ทั้งนี้สรรพากรก็อาจจะไม่ได้ตรวจตราข้อมูลทั้งหมดในทันทีทันใด เนื่องจากมีปริมาณเยอะมาก ๆ อีกทั้งบุคคลากรที่ดูแลในด้านนี้อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับจำนวนพ่อค้าแม่ค้าที่เยอะเอามาก ๆ  หรือข้อมูลของเราอาจจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่สรรพากรจะต้องตรวจสอบ แต่.. “ไม่วันใดก็วันหนึ่ง” เมื่อยอดเราถึงเกณฑ์แต่ยังคงรอคอยไม่ยื่นภาษี เมื่อวันนั้นประจวบเหมาะกับที่สรรพากรตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า “เราถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี” แล้วนะ แต่ทำไมยังไม่ยื่นภาษี ก็อาจจะโดนจดหมายเชิญให้ไปพบที่สำนักงานสรรพากรในท้องที่ได้ ข้อความในจดหมายดังกล่าวอาจมีเนื้อความประมาณว่า “กรมสรรพากรพบข้อมูลว่า ท่านมีเงินได้จากการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ท่านจะต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ …… เดือน ….. พ.ศ. ….. ”  เป็นต้น ครับ

ปล. บางท่านอาจมีคำถามว่า..แล้วกรณีนี้ถ้ามีการแยกบัญชี เอาบัญชีของคนในครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง แฟน ลุง ป้า น้า อา มาสลับให้แพลตฟอร์มโอนเข้าไปจะได้หรือไม่? ตอบว่า.. ก็ไม่รอดครับ ถึงแม้ว่าเราจะมีการเปลี่ยนเลขที่บัญชีในการจ่ายเงินให้กับผู้ขาย แต่หัวเอกสารที่ทางช้อปปี้ยื่นให้กับสรรพากร ยังไงก็เป็นข้อมูลเดิม นั่นหมายความว่า เลขที่บัญชีเปลี่ยน แต่ข้อมูลของผู้รับเงินยังคงเดิม สรรพากรก็ตรวจสอบได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะตรวจสอบให้ละเอียดก็ขึ้นอยู่กับการตกลงวิธีการระหว่างแพลตฟอร์มและสรรพากรเอง
* ข้อมูลที่ทางช้อปปี้ยื่นให้กับสรรพากร จะยื่นผ่านระบบออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ โดยยื่นเป็นรายวันหรือตามรอบรายเดือนที่ช้อปปี้กำหนดครับ
* ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของทีมงาน โปรดติดต่อช้อปปี้สำหรับข้อมูลที่ถูกต้องชัวร์ ๆ อีกครั้งครับ

กรณีที่ 2 เราอาจจะไม่ได้ขายบนแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada เช่น อาจจะขายบน Facebook / Line อื่น ๆ กระจายไปทั่ว แบบนี้ สรรพากรก็อาจรู้ได้ เหมือนกันครับ 😱 รู้จากไหน… จากเกณฑ์ของกฎหมายใหม่ครับ อธิบายให้ง่ายว่าตอนนี้สรรพากรมีกฎหมายที่สามารถสั่งให้ธนาคารทุก ๆ ธนาคาร ( รวมถึงองค์กรหรือธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับวอลเล็ท (e-wallet) ด้วยครับ) ส่งข้อมูลให้สรรพากรว่า “ยอดรวมของการฝาก หรือโอนรับเงินคือเท่าไหร่?” เอาล่ะทีนี้สรรพากรรู้หมดเลยน่ะสิ ใช่แล้วครับสรรพากรรู้ได้หมดเลย แต่จำนวนบัญชีธนาคารในระบบเยอะมาก ๆ ดังนั้นสรรพากรเลยบอกว่าเอาแค่บัญชีที่เข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้พอ จึงค่อยส่งข้อมูลให้สรรพากร โดยเงื่อนไขดังกล่าวคือ บัญชีของเราทั้งหมดในธนาคารนั้น ๆ (มัดรวมกันทุกบัญชี) เมือรวมการทำรายการทางการเงินของบัญชีทั้งหมดแล้วพบว่า

1. มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี (รวมจำนวนรายการโอนเข้าของดอกเบี้ยที่ธนาคารฝากให้ด้วยนะ) ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม ส่งข้อมูลเลย.. แต่ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขนี้ ยังมีอีกเงื่อนไขได้แก่..
2. ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป + มียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 (2 ล้าน) บาท/ปี ขึ้นไป (ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน) ก็ส่งข้อมูลเลย..
*** เพิ่มเติม ***
– บัญชีเงินฝากใน 1 ธนาคาร รวมการทำรายการทุกบัญชีเพื่อเอามาเทียบตามเกณฑ์ข้างต้น 2 ข้อ ถ้าเข้าเกณฑ์ข้อใด ธนาคารนั้น ๆ ก็ส่งข้อมูลให้กับสรรพากรได้เลย
– เราเปิดบัญชีธนาคารแยกต่างธนาคารกัน แต่ละธนาคารก็สรุปข้อมูลของเราแต่ละธนาคารไป ไม่มีการเอาข้อมูลของธนาคาร A มารวมกับข้อมูลของธนาคาร B แล้วค่อยเอามาเทียบเกณฑ์ แบบนี้ไม่มีครับ ข้อมูลของธนาคารไหน ก็ของธนาคารนั้น ๆ  ไม่มีการเอาจำนวนรายการหรือยอดในบัญชีมารวมกันแล้วไปเทียบกับเกณฑ์ครับ
* บางท่านสงสัยว่าตัว Seller Balance สำหรับพ่อค้าแม่ค้าฝั่งช้อปปี้ ที่เมื่อเราขายสินค้าในคำสั่งซื้อใดๆ ได้ ก็จะมีการโอนเงินเข้าตัว Seller Balance ตลอด แล้ว Seller Balance นี้นับเป็น e-wallet ด้วยไหม? ตอบว่าตัว Seller Balance ไม่นับเป็น e-wallet ดังนั้นช้อปปี้จึงไม่ส่งข้อมูลของ Seller Balance ให้กับสรรพากรครับ แต่สำหรับฝั่งพ่อค้าแม่ค้าช้อปปี้ จะเข้าเงื่อนไขกรณีแรกมากกว่าครับ

กรณีที่ 3 เราอาจรู้ตัวเองดีว่าเราไม่ได้ขายของบนแพลตฟอร์ม Shopee หรือ Lazada ดังนั้นสรรพากรไม่มีข้อมูลของเราจากช่องทางของแพลตฟอร์มแน่นอน และเราก็รู้ตัวเองดีอีกว่าเงินที่เข้าบัญชีของเราก็มีพอประมาณนะ แต่อาจจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลของเราให้สรรพากร(มั้ง) เราเลยไม่ยื่นภาษี แบบนี้สรรพากรก็ไม่น่าจะรู้ใช่ไหมล่ะ แต่ แต่ แต่ อาจยังมีอีก 1 วิธีที่เมื่อสรรพากรสงสัยว่าเรามีรายได้เยอะและอยากจะตรวจสอบข้อมูลของเราคือการ “แอบถาม” ยังไงนะ? แอ๊ะ! แอบถามคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น เราเปิดเพจ Facebook ขั้นแอดวานซ์ขึ้นอีกหน่อยก็อาจจะมีการลงโฆษณาใน Facebook หรือช่องทางอื่น ๆ ด้วย แบบนี้หากทีมงานของสรรพากรแวะเวียนมาเห็นเพจเรา หรือเห็นโฆษณาที่เราลง แล้วเข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่า อือ ขายก็ดี มีรีวิวจากลูกค้าก็เยอะ อยากตรวจสอบสักหน่อยว่าเสียภาษีหรือไม่? ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการ “ขอซื้อหน่อย” สรุปยอดเลย โอนเข้าเลขที่บัญชีไหน.. ชื่อบัญชีอะไร แบบนี้เมื่อสรรพากรได้ข้อมูลเลขที่บัญชี ชื่อบัญชีของเรามาแล้ว ก็สามารถที่จะนำไปตรวจสอบข้อมูลโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายต่อไป….

 

ตอบ การโดนตรวจสอบภาษีย้อนหลังมันเหมือนการ “เสี่ยงดวง” บางคนโชคดีอาจจะไม่โดน บางคนโชคร้ายอาจจะโดนก็ได้ เพราะอำนาจทางกฎหมายกรมสรรพากรเขามีอยู่ อยู่ที่ว่าจะใช้กับใคร ดังนั้นคำตอบของข้อนี้คือ “ไม่มีใครรู้ครับว่าจะโดนไหม” พอคำตอบของคำถามออกมาเป็นแบบนี้แล้ว อะไรล่ะที่จะทำให้เราพอที่ตัดสินใจได้ว่า จะยื่น vs ไม่ยื่น ภาษีดี 

มันมีกฎหมายมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า อำนาจตรวจสอบของสรรพากรในกรณีที่เราไม่ยื่นภาษี คือ ย้อนหลังไปได้ 10 ปี แต่ถ้าเรายื่นภาษี อำนาจตรวจสอบของสรรพากรจะย้อนหลังไปได้เพียง 2 ปี และสูงสุดไม่เกิน 5 ปี แล้วแต่กรณีความผิดที่เกิดขึ้นว่าเขาจะย้อนตรวจมากน้อยแค่ไหน

ข้อนี้แสดงให้เห็นชัดว่าแม้ว่าจะตอบไม่ได้ว่าจะโดนไหม แต่พอเห็นอำนาจในการตรวจสอบแบบนี้มันแตกต่างกันถึงหลายเท่าตัว จาก 10 ปี เหลือเพียง 2 ปี และสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ก็แปลว่า “ถ้าเรายื่นภาษี” ก็ลดความเสี่ยงจากการตรวจสอบไปได้เกินกว่าครึ่งแล้วน่ะสิ!!

ถ้าในด้านข้อกฎหมายด้านบนยังทำให้คุณตัดสินใจไม่ได้ลองตัดสินใจด้วยความรู้สึกดูว่า.. ถ้าวันนี้คุณโดนสรรพากรเรียกพบ และคุณกำลังนั่งอยู่หน้าโต๊ะของเจ้าหน้าที่.. ระหว่างคนที่ไม่เคยยื่นภาษีมาก่อนเลยกับคนที่ยื่นภาษีไว้แล้วบ้าง คนไหนน่าจะถูกลงโทษหนักกว่ากัน หรือข้ออ้างของคนไหนจะทำให้สรรพากรเห็นใจได้มากกว่า?

 

ตอบ การจะยื่นภาษีหรือเสียภาษีขายของออนไลน์ได้นั้น จะต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนหรือไม่? ไม่จดทะเบียนพาณิชย์แล้วจะยื่นภาษีได้ไหม? เป็นหัวข้อที่หลายคนกังวลเอามาก ๆ เรื่องนี้กูรูด้านภาษีหลายท่านก็ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า “ไม่เกี่ยวกัน” เพราะเรื่องภาษีกับการจดทะเบียนพาณิชย์นั้นมีความแตกต่างกันแบบที่เรียกได้ว่า คนละเรื่องกันเลย เพราะไม่จดทะเบียนพาณิชย์ก็เดินไปหาสรรพากรเพื่อยื่นภาษีได้ ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ก็ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้ สรุปคือ ไม่จดก็ยื่นภาษีได้ ไม่จดก็เสียภาษีได้นั่นเอง.. 

และอีก 1 ข้อที่เข้าใจผิดกันไปใหญ่ การไปจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้หมายความว่า จดปุ๊บอนุมัติปั๊บ เสร็จแล้วจะไม่ต้องยื่นภาษีใด ๆ หรือทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับภาษีเลย เป็นความเข้าใจผิดที่ว่า “จดทะเบียนพาณิชย์แล้ว = ไม่ต้องเสียภาษี” ผิดครับ จดทะเบียนพาณิชย์แล้วก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดีเพราะ..

การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นการแจ้งว่าธุรกิจเรามีตัวตน  ส่วน..
การยื่นและเสียภาษี เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่เราจะต้องยื่นเมื่อถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษี (ตามที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 1 ด้านบน)

การจดทะเบียนพาณิชย์อาจไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษีเท่าไหร่นัก แต่สิ่งที่ต้องจดจริง ๆ ในเรื่องของภาษีคือ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถ้าหากร้านออนไลน์ของเราขายดี จนมีรายได้ (รายได้ = แปลว่ายังไม่หักค่าใช้จ่ายนะครับ) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แบบนี้ก็ต้องรีบไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำส่งภาษีและจัดทำเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องต่อไป 

ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับทะเบียนพาณิชย์อีกสักเล็กน้อย..ดังนี้คือ

ทะเบียนพาณิชย์ฯ มีไว้ทำอะไร? ทำไมเขาฮิตที่จะจดทะเบียนพาณิชย์กันจังเลย? การจดทะเบียนพาณิชย์ (หรือ ที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า ทะเบียนการค้า) คือ การไปแจ้งและจดทะเบียนชื่อธุรกิจของเรากับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า เรามีตัวตน จะได้รับสินค้า ได้รับบริการจากเราจริง ๆ สามารถติดตามได้ มีที่ตั้งเป็นหลักเป็นแหล่ง เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ โดยทะเบียนพาณิชย์ก็มีทั้งแบบธรรมดา (ออฟไลน์) กับทะเบียนพาณิชย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (ขายของออนไลน์) ก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวเราขายสินค้าแล้วเราเข้าเงื่อนไขใดที่เราอยากจะไปจดทะเบียนพาณิชย์

1. กรณีร้านค้าทั่วไปแบบออฟไลน์ ขายของอยู่ มีหน้าร้าน มีรายได้ตั้งแต่วันละ 20 บาทขึ้นไป แบบนี้ก็ไปจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง โดยธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ได้แก่  (เพียงยกตัวอย่างสามารถตรวจสอบอีกครั้งกับทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

  • การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  • ธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  • ธุรกิจของนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  • ธุรกิจของหน่วยงานทางราชการ
  • ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  • ธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร

2. กรณีขายของออนไลน์ ก็ต้องดูว่าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ไหม

  • มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและมีวัตถุประสงค์ในการใช้ขายสินค้า (ไม่ใช่แค่เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนมาซื้อที่หน้าร้านแบบออฟไลน์) (ต่อให้ใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปก็รวมอยู่ด้วย) และไม่ว่าจะมีระบบตะกร้าหรือไม่มีระบบตะกร้าสั่งซื้อก็ถือว่าอันนี้ต้องไปจดทะเบียนพาณิยช์ (อิเล็กทรอนิกส์) ครับ
  • ขายของใน Shopee และ Lazada หรือเว็บอื่น ๆ ที่เรามี Channel ของร้านค้า หรือ URL ของร้านค้าเป็นของตัวเอง เช่น http://shopee.co.th/ตามด้วย username ร้านค้าของเรา (ซึ่งแน่นอนทุกร้านมีกันหมด) และ Facebook, Instagram, Blockdit, Twitter มันก็มี URL หรือ Username กันหมด (ถึงแม้จะฝากข้อมูลไว้ใน Hosting หรือ ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปในต่างประเทศ เราก็ยังจำเป็นต้องจดทะเบียน) สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะขายในไหนก็ต้องไปจดหมด แบบนี้ “ต้องไปจดทะเบียนพาณิยช์ (อิเล็กทรอนิกส์) ด้วยครับ” โดยใช้ URL ของร้านค้าหรือของบัญชีของเรานั่นแหละในการไปจดทะเบียนพาณิชย์

สุดท้ายวกกลับมาเรื่องภาษี เวลาคุณไปเสียภาษีสรรพากรจะจี้ให้คุณไปจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ ตอบว่า “ไม่ครับ” เพราะเป็นคนละส่วนงานกัน สรรพากรไม่ได้ให้ความสนใจและไม่เกี่ยวกับสรรพากรหรือเรื่องภาษี อันนี้ขึ้นอยู่กับคุณใช้ดุลพินิจว่าเราเข้าเกณฑ์หรือเปล่า เข้าเกณฑ์แล้วจะจดไหม ถ้าจะจดก็ไปจดเลย แค่นั้นเองครับ ไม่เกี่ยวกับการเสียภาษี

และไม่ท้ายสุด.. ขอวกกลับมาที่ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนพาณิชย์ชื่อก็ฟังพอเข้าใจอยู่แล้วว่าเกี่ยวกับพาณิชย์หรือการหาเงิน ดังนั้นถ้าคุณจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว แว๊บหายไป ไม่ยื่นภาษีกรณีนี้อาจโดยสรรพากรเรียกพบได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีชื่อในระบบทะเบียนพาณิชย์แต่ไม่เห็นยื่นเสียภาษีเลย ใช่ครับ เพราะมันดูย้อนแย้งกันไง เลยอาจโดนสรรพากรเรียกพบได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้ทะเบียนพาณิยช์ก็ยังมีข้อดีด้วยนะ ทั้งการขอเงินกู้ ทำสินเชื่อ เงินหมุนเวียนทำธุรกิจ หรือแม้แต่ซื้อบ้าน ซื้อรถ ก็สามารถใช้ทะเบียนพาณิชย์เป็นหลักฐานประกอบส่วนหนึ่งในการขอเครดิตทางการเงินได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สำหรับพ่อค้า แม่ค้าที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับทะเบียนพาณิชย์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเขต, เทศบาล และ อบต. ใกล้เคียงพื้นที่ตั้งธุรกิจได้เลยครับ หรือติดต่อ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 02-547-5959-61 อีเมล [email protected] หรือ [email protected] และ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://dbdregcom.dbd.go.th/mainsite/

 

ตอบ มี 2 ตัว ได้แก่ “ภาษีเงินได้ กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดย..
1. ภาษีเงินได้ อธิบายง่ายๆ ว่า นี่คือภาษีพื้นฐานที่ทุกคน (หรือถ้าจดบริษัทก็ทุกบริษัท) จะต้องยื่นภาษีเมื่อถึงเกณฑ์(เกณฑ์ของบุคคลธรรมดาก็ตามข้อ 1 ที่ได้อธิบายไป) ภาษีเงินได้เสียตามรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ เช่น ถ้าเราขายด้วยตัวเราเอง มีทีมงานต่าง ๆ แต่ไม่ได้จัดตั้งและจดทะเบียนธุรกิจเป็นบริษัทเราก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าเราจดทะเบียนเป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (หรือเรียกให้เข้าใจว่า..เป็นนิติบุคคลนั่นเอง) อันนี้ก็จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครับ

แต่ถ้ายัง งงๆ นึกไม่ออกว่า..แล้วเราเสียภาษีแบบไหนล่ะ ตอบเลยครับว่า “เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าเราเคยจดทะเบียนบริษัทหรือเปล่า เราไม่รู้ก็แสดงว่าเราไม่ได้จดน่ะสิ ถ้าเราจดก็ต้องรู้น่ะสิ (เว้นแต่กรณีคุณลืมจริง ๆ ซึ่งขั้นตอนการจดบริษัทยุ่งยากหลายขั้นตอน จนคุณไม่น่าจะลืมมันได้) ก็แปลว่าเราไม่ได้จด เป็นที่มาที่พอจะสรุปได้ว่า ดังนั้นคุณจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั่นเองครับ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนไปอ่านรายละเอียด ให้เวลาถามตัวเอง 10 วินาทีว่า ปีนี้ คุณมีรายได้เข้าบัญชี (ใกล้ถึง หรือ..) เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี(นี้) แล้วหรือยัง? เมื่อได้คำตอบแล้วทีมงานจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่จะต้อง “ไปจดทะเบียน” ขอเสียภาษี ก่อนที่จะเสียภาษีตัวนี้ (เว้นแต่กรณีสรรพากรจับได้ว่าคุณมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี อันนี้จะจดก่อนเสีย หรือโดนปรับก่อนจดก็แล้วแต่สรรพากรครับ) ดังนั้นเมื่อมีการจดทะเบียน ก็ต้องมีเงื่อนไขเข้ามา (ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขจนจะต้องไปจดทะเบียนและเสียภาษี ส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะไม่จดทะเบียนและเสียภาษีตัวนี้กัน)

เงื่อนไขคือ..ถ้าเรามีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งหมด) เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี(นี้) จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT (จะจดก่อนที่จะถึงเกณฑ์ 1.8 ล้านบาท/ปี ก็ได้ หรือเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จะไปรีบจดทะเบียนและขอเสียภาษีตัวนี้ก็ได้ แต่หากไปจดล่าช้า (เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ยอดเกิน 1.8 ล้านบาท) จะมีเบี้ยปรับแสนโหดมาก ๆ) โดยภาษีตัวนี้จะเสียที่ยอด 7% จากยอดรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งหมด) ของเรานี่แหละ

ที่ว่ามีเบี้ยปรับแสนโหดมาก ๆ โหดขนาดไหนนะ 😱
สมมุตินายรวย ขายของได้ปีนี้ 2.8 ล้านบาท/ปี โดนสรรพากรจับได้ว่าไม่จดและจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรายได้ที่เกิน 1.8 ล้านบาท นายรวยจะต้องเสีย Vat 7% ให้กับสรรพากร
– (2,800,000 – 1,800,000) x 7% = 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาทคือ Vat ที่จะต้องเสีย)
แต่ยังไม่จบ.. สรรพากรบอกว่า สรรพากรเป็นผู้ตรวจเจอเองนะ จะต้องโดนปรับ 2 เท่าของอัตรา Vat ที่คิดออกมาได้
– 70,000 x 2 เท่า = 140,000 (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาท)
แต่ยังไม่จบ.. สรรพากรบอกว่า นายรวยจ่าย Vat ล่าช้า ทำให้สรรพากรเสียประโยชน์ สรรพากรขอคิดดอกเบี้ยหน่อย
140,000 x ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ปรับไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมาชำระค่าภาษี

😱 😱 😱 😱 😱

* กรณีที่ทำงานประจำไปด้วย และขายของออนไลน์ไปด้วยฐานการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดจากรายได้ขายของออนไลน์เพราะว่ากรณีนี้ รายได้เงินเดือน = ยกเว้น VAT เพราะเป็นเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงานดังนั้นจะไม่ถูกคิดเป็นฐานในการคำนวณ

* ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับร้านค้าเล็ก ๆ ที่เปิดขาย โดยไม่ได้วางแผนเรื่องภาษีมาก่อน ถือว่าเป็นอัตราภาษีที่ค่อนข้างโหด ดังนั้นจึงมีพ่อค้า/แม่ค้า หลายคนเลือกที่จะ “หยุดขายหรือปิดร้าน” ไปก่อนในปีนี้ เพราะยอดขายหรือรายรับใกล้ที่จะถึง 1.8 ล้านบาท/ปี แล้ว และค่อยไปเปิดขายใหม่ในปีหน้า จะได้ไม่ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีดังกล่าวเพิ่มเติมกัน

* ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดทะเบียนแล้วจะต้องมีการออกเอกสารใบกำกับภาษี (ค่อนข้างที่จะซับซ้อน) สำหรับพ่อค้า/แม่ค้า มือใหม่ ที่ขายคนเดียว หรือมีทีมงานไม่เยอะ อาจะทำให้วุ่นวายพอสมควร เพราะจะต้องลงมาจัดการในภาษีส่วนนี้ ทั้งในด้านการจัดเก็บเอกสาร ทั้งในด้านการยื่นภาษี และหากต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ หลายๆ คนจึงใช้วิธีการจ้างสำนักงานบัญชีมาดูแล สำหรับค่าบริการดูแลบัญชีก็มีตั้งแต่ 500 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นก็มี (เฉลี่ยส่วนใหญ่จะประมาณ 2000-5000 บาท/เดือน) แต่ก็จะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เอาเวลามาโฟกัสกับการขายสินค้า และจัดการเอกสารทางบัญชีต่างๆ ได้น้อยลง สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่นนั้น สามารถหาข้อมูลและศึกษาได้บนอินเตอร์เน็ต หรือเพจด้านการเงิน/ภาษีครับ

 

ตอบ ตอนนี้ทีมงานคาดว่าคุณน่าจะสำรวจตัวเองจากการอ่านหัวข้อก่อนหน้านี้มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเริ่มต้นยื่นภาษีนั้นมีส่วนที่คุณจะต้องสำรวจตัวเองเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยคือ.. ไทม์ไลน์ปัจจุบันคุณเป็นแบบไหน? ทีมงานขอร่างหัวข้อดังต่อไปนี้ขึ้นมาก่อน และให้คุณสำรวจตัวเองว่าคุณมีไทม์ไลน์ปัจจุบันเป็นแบบไหน

(A) มีการทำบัญชี “รายรับ-รายจ่าย” ทั้งหมดไว้
(B) ไม่มีการทำบัญชี “รายรับ-รายจ่าย” ไว้

(C) มีบิลเอกสารรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายของออนไลน์อย่างครบถ้วน เช่น (1) ใบเสร็จรับเงิน (2) ใบกำกับภาษี (3) บิลเงินสด (4) ใบสำคัญรับเงิน
(D) ไม่มีบิลเอกสารรายจ่ายเลย เนื่องจากไม่ได้ขอ ไม่ได้เก็บไว้

(E) มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
(F) มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี แต่ใกล้ถึง 1.8 ล้านบาท/ปี แล้ว และคิดว่าน่าจะขายต่อให้มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
(G) ขายได้น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี

(H) ประมาณกำไรที่ขายได้อยู่ที่อัตรากำไรเกิน 40%  เช่น ถ้าราคาขาย 100 บาท กำไรที่ได้เกินกว่า 40 บาท เป็นต้น
* ข้อ (H) นี้ เราจะคิดเป็นภาพรวม ใช้สูตรในการคิดดังนี้ครับ
อัตรากำไรขั้นต้น (%) = ( (รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด) / รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด) x 100
เช่น รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 900,000 (เก้าแสนบาท)
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าส่งของ + ค่ากล่อง ค่าแทป + ต้นทุนสินค้า + ค่าจ้างพนักงาน + ฯลฯ) = 405,000 (สี่แสนห้าพันบาท)
คำนวนได้ดังนี้คือ อัตรากำไรขั้นต้น (%) = ( (900,000405,000) / 900,000 ) x 100
อัตรากำไรขั้นต้น (%) = (495,000 / 900,000) x 100
อัตรากำไรขั้นต้น (%) = (0.55) x 100
อัตรากำไรขั้นต้น (%) = 0.55 x 100 = 55% นั้นเอง
ดังนั้นถ้ากำไรที่คิดออกมาได้คือ 55% แสดงว่ากำไรของคุณเกิน 40% จึงเข้าเงื่อนไขข้อ H นี้ แต่ถ้าไม่ถึง 40% ก็เข้าเงื่อนไขข้อ (J) แทน
(J) ประมาณกำไรที่ขายได้อยู่ที่อัตรากำไรไม่เกิน 40% ของต้นทุน เช่น ถ้าราคาขาย 100 บาท กำไรที่ได้น้อยกว่า 40 บาท เป็นต้น
(K) ไม่ทราบเลย เพราะรู้แค่ว่าขายได้กำไรนิดหน่อย ไม่ทราบข้อมูลกำไรขาดทุนในภาพรวมเลย

เอาล่ะถึงเวลาคุณเลือก
1. ถ้าคุณเลือกข้อ (A) ประกอบกับ (C) ประกอบกับ (J หรือ K) แนะนำให้คุณเสียภาษี “แบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง” เพราะคุณมีการทำบัญชีรายรับและรายจ่ายชัดเจน รู้สภาพทางการเงินของรายได้ของตัวเองเป็นอย่างดี แถมยังขายได้กำไรน้อยกว่า 40% อีก แต่ก็ยังดีที่ยังมีบิลเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งจะนำมาหักลบตอนยื่นภาษีได้ด้วย โดยยิ่งเรามีต้นทุนที่สูง ก็สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้สูง โดยเอกสารที่จะนำมาหักลบเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อยืนภาษีได้นั้นจะต้อง 1. เป็นค่าใช้จ่ายปกติที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า (เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ) 2. เป็นจำนวนที่สมควรและเหมาะสมต่อธุรกิจหรือกิจการ 3. ต้องเป็นรายจ่ายที่สามารถระบุชื่อผู้รับเงินได้ มีรายละเอียดผู้จ่ายเงิน และมีรายการของรายจ่าย ถ้าไม่มีข้างต้นเลยเราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีการจ่ายออกไปจริง เช่น ใช้สลิปการโอนเงิน 4. ไม่เข้าข่ายรายจ่ายลักษณะต่อไปนี้ คือ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รายจ่ายส่วนตัว รายจ่ายที่ให้โดยเสน่หา รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายที่กำหนดขึ้นมาเองดื้อๆ โดยที่ไม่ได้จ่ายจริงๆ รายจ่ายซึ่งควรจะจ่ายในรอบบัญชีอื่น(คือยังไม่น่าจะถึงเวลาที่จะต้องจ่ายแต่ก็เลือกที่จะจ่ายไปแล้ว) รายจ่ายในลักษณะการลงทุน เช่น ซื้อรถ เพราะจะหักค่าใช้จ่ายเป็นก้อนไม่ได้ จะต้องหักเป็นค่าเสื่อมราคาแทน และเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงไปด้วย และไม่ต้องกังวลไปว่าภาษีที่เสียจะเกินกว่ากำไรที่ได้ เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่ายตามจริงไปแล้วกำไรที่ได้ที่ต้องเสียภาษี หากเป็นบุคคลธรรมดาภาษีจะจ่ายไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำไรนั้นเอง (อัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงสุดที่ 35%)

2. ถ้าคุณเลือกข้อ (H) ประกอบกับ (D) แนะนำให้คุณเสียภาษี “หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา” หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เรียกกันติดปากว่า “ภาษีเหมาจ่าย” เพราะคุณแทบจะไม่มีหลักฐานเอกสารรายจ่ายเลย เนื่องจากไม่ได้ขอหรือไม่ได้เก็บไว้หรือซื้อสินค้าจากแหล่งที่ไม่สามารถออกเอกสารให้ได้ (และยังมีอัตรากำไรจากการขายสินค้าที่ได้มากกว่า 40% ขึ้นไป) ดังนั้นการเลือกยื่นภาษีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ของยอดรายได้ น่าจะตอบโจทย์สำหรับกรณีของคุณ โดยการยื่นภาษีแบบนี้เราไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร (แม้ต้นทุนที่แท้จริงของเราจะน้อยกว่า 60% ก็ตาม ทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง)

3. ถ้าคุณเลือกข้อ (E หรือ F) แสดงว่ารายได้ในการขายของออนไลน์ของคุณใกล้ที่จะถึง หรือเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี แล้ว คุณต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยด่วน โดยติดต่อได้ที่สรรพากรท้องถิ่น และเสียภาษีอยู่ที่อัตรา 7% ของรายได้ ที่สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ตำราเรียน ส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดูวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ https://www.rd.go.th/7058.html

และเมื่อพ่อค้าแม่ค้า จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก “ใบกำกับภาษี” ให้กับผู้ซื้อทุกครั้งด้วยนะครับ

ตอบ อ่านมาถึงตรงนี้ พ่อค้าแม่ค้าหลายคนก็คงจะได้สำรวจตัวเองกันแล้วว่า…ขายของ Shopee เสียภาษีไหม หรือขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือเปล่า สำหรับฝั่งช้อปปี้ใช้ยอดไหนยื่นภาษี หัวข้อนี้มีคำตอบครับ

พ่อค้าแม่ค้าบางคน ที่พึ่งเริ่มต้นยื่นภาษี ก็คงได้รับคำแนะนำจากหลาย ๆ ที่ ทั้งคนใกล้ชิด หรือลองหาข้อมูลจากเฟสบุ็คและโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ มาบ้าง และหลาย ๆ คนคงได้รับคำแนะนำมาประมาณว่า “ให้ใช้ยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีทั้งปีรวมกันและยื่นภาษีเลย” ถามว่าได้ไหม ได้ครับ แต่อาจโดยสรรพากรเรียกพบอีก เหตุเพราะเรายื่นภาษีเงินได้ยอดไม่ครบนั่นเอง แอ๊ะ! ยอดไม่ครบยังไงกัน ก็ยอดเนี๊ยมันเข้าบัญชีเรามา เอาล่ะมาดูกัน..

ยอดที่จะต้องใช้ยื่นภาษีจริง ๆ คือ ยอดรายรับ (หักส่วนลดต่าง ๆ ที่เรามอบให้กับลูกค้า) + ค่าบริการจัดส่งที่เราได้รับจากลูกค้า (ที่ลูกค้าชำระเข้ามา) ของทุก ๆ ออเดอร์เอามารวมกันเป็นเงินได้ที่จะต้องยื่นภาษี เพราะยอดเงินสุทธิที่โอนเข้าบัญชีของเราแล้วนั้น ถือเป็นยอดเงินที่ได้หักค่าใช้จ่าย (ค่าบริการจัดส่ง, ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ) แล้วนั่นเอง
* สำหรับแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ขายบนแพลตฟอร์ม ช้อปปี้/ลาซาด้า ยังคงถือว่าสามารถใช้ยอดที่โอนเข้าบัญชีของเราในการยื่นภาษีได้อยู่ครับเพราะเวลาลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีของเรา ลูกค้าโอนค่าของ + ค่าส่งเข้ามา ดังนั้นยอดที่เข้าบัญชีของเรามาก็ถือว่าเป็นยอดที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย จึงสามารถยื่นตามนั้นได้เลยครับ

ยกตัวอย่างคำสั่งซื้อช้อปปี้ให้เห็นชัดเช่น 
– ค่าสินค้า 200 บาท
– ส่วนลดสินค้าจากผู้ขาย 50 บาท (ร้านค้าลดให้ลูกค้า)
– ค่าบริการจัดส่ง 5 บาท (ลูกค้าชำระเข้ามา)
– ค่าธรรมเนียมการขาย 12 บาท (ช้อปปี้หักเราไว้)
– ยอดรวมที่จะต้องใช้ยื่นภาษีเป็น (ค่าสินค้า – ส่วนลดสินค้าจากผู้ขาย + ค่าบริการจัดส่ง) = 200 – 50 + 5 = 155 บาท #นั่นเอง <= นี่คือยอดที่จะต้องใช้ยื่นภาษีครับ ไม่ใช่ยอดที่เป็น.. ค่าสินค้า – ส่วนลดสินค้าจากผู้ขาย – ค่าบริการจัดส่ง – ค่าธรรมเนียมการขาย ได้แก่ 133 บาท นั่นเอง

ทำไมร้านค้าจึงต้องนำยอดค่าบริการจัดส่งมายื่นภาษีด้วย ทั้ง ๆ ที่ยอดเงินดังกล่าวร้านค้าก็ไม่ได้รับเงิน เนื่องจากระบบดึงเงินไปจ่ายให้กับบริษัทขนส่งเลย ข้อนี้กูรูทางภาษีหลายท่านได้อธิบายเอาไว้ว่า เพราะทางแพลตฟอร์ม (คือ Shopee) ไม่ได้ออกใบเสร็จค่าขนส่งให้กับลูกค้า โดยให้ร้านค้าเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการจัดส่งดังกล่าวให้กับลูกค้าแทน ดังนั้นค่าบริการจัดส่งจึงถือเป็นรายได้ของร้านค้านั่นเอง

สรุปได้ว่า พ่อค้าแม่ค้า Shopee เสียภาษีจากยอด ค่าสินค้า – ส่วนลดสินค้าจากผู้ขาย + ค่าบริการจัดส่ง นั่นเอง
แต่..ใครจะมานั่งไล่ดูทีละออเดอร์ล่ะ แต่ละปีขายได้เยอะมาก ๆ ดูได้จากที่ไหน จากที่นี่เลย.. อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ลองทำดูนะครับ

1. เข้าไปที่ https://seller.shopee.co.th/ จากนั้นฝั่ง “ซ้ายมือ” ในส่วนของการเงิน คลิกที่เมนู “รายรับของฉัน” หรือที่ลิงก์ https://seller.shopee.co.th/portal/finance/income จากนั้นระบบจากให้ป้อนรหัสผ่าน (Password) ของช้อปปี้อีกครั้ง ก็ป้อนไปโล้ดครับ

หน้ารายรับของฉัน สำหรับเข้าไปดูยอดที่จะต้องใช้เสียภาษีเมื่อขายบนช้อปปี้

2. เลือกช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม (หรือหากยื่นภาษีกลางปี ก็สามารถเลือกเป็นช่วงเวลาเพียงครึ่งปีได้) เมื่อเลือกแล้วกดปุ่ม “ส่งออก” และรอให้ระบบประมวลผลไฟล์ให้เราสักครู่ บางร้านอาจใช้เวลา 15 นาที บ้างก็ 60 นาที บ้างก็ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนออเดอร์ของเราทั้งปีว่ามีมากน้อยแค่ไหน สามารถนั่งจิบกาแฟรอ และหมั่นคอยมาเช็คสถานะไฟล์ว่าพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วหรือไม่..ได้ที่..แฮมเบอร์เกอร์เมนู (ที่มีสัญลักษณ์ขีด 3 ขีดซ้อนกัน สีเทา) ก็จะพบว่าไฟล์ของเราขณะนี้สามารถดาวน์โหลดได้แล้วหรือไม่ โดยจะขึ้นเป็นปุ่มสีส้ม มีคำว่า “ดาวน์โหลด” เมื่อระบบจัดเตรียมไฟล์เสร็จสิ้นแล้ว ทีมงานขอข้ามขั้นตอนนี้ไป สามารถรอและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์ลงมาในเครื่องได้เลยครับ

ขั้นตอนการส่งออกรายรับในหน้ารายรับของฉัน สำหรับเข้าไปดูยอดที่จะต้องใช้เสียภาษีเมื่อขายบนช้อปปี้

3. เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม Excel โดยหากโปรแกรมขึ้นแทบสีเหลืองด้านบนเตือนว่า “PROTECTED VIEW” ก็สามารถกดปุ่ม “Enable Editing” ได้เลย หรือกรณีเป็นเมนูภาษาไทยให้คลิกคำว่า “เปิดใช้งานโหมดแก้ไข”

Enable Editing บน Excel

4. ใช้เมาส์ลากคลุมช่องตัวเลขด้านบนตามภาพตัวอย่าง จากนั้นคลิกที่เมนูหัวลูกศรชี้ลงด้านล่างที่เครื่องหมายตกใจ และเลือก “Convert to Number” เพื่อเปลี่ยนข้อความทั้งหมดในช่องดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบตัวเลข

เปลี่ยนข้อความในช่อง Excel ให้เป็นตัวเลข | ขายของ Shopee เสียภาษีหรือไม่?

5. ขั้นตอนนี้เป็นการหายอดรวมของ “ยอดที่จะใช้ยื่นภาษี” โดยสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่
1. คำนวนบนโปรแกรม Excel เลย 
2. คำนวนด้วยมือหรือเครื่องคิดเลข

กรณีคำนวนบนโปรแกรม Excel เลย สามารถหาเซลล์ (พื้นที่ช่องว่าง) ตั้งสูตร = ผลรวม (แถวที่ 5) ของช่องที่ 1 + ช่องที่ 2 + ช่องที่ 3 + ช่องที่ 4 + ช่องที่ 5 + ช่องที่ 6 + ช่องที่ 7 จากนั้นกดปุ่ม Enter จะได้ออกมาเป็นยอดที่จะใช้ยื่นภาษีครับ
* หมายเหตุ คำว่าช่องที่ 1, ช่องที่ 2, ช่องที่ 3, ช่องที่ … ทีมงานพิมพ์กำกับขึ้นมาเพื่อให้ดูง่ายขึ้น ตอนคำนวณให้ใช้ยอดในแถวที่ 5 ดูเทียบกับคำช่องที่.. นะครับ

โดยหากปัจจุบันที่ผู้อ่านได้ทดลองทำตามทีมงานอยู่ หากช้อปปี้ไม่เปลี่ยนตำแหน่งของการจัดวางข้อมูล สูตรจะออกมาเป็น =G5+H5+I5+J5+K5+L5+M5 ตามภาพครับ 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าข้อมูลภายในไฟล์ บางช่อง (เซลล์) ตัวเลขจะมีติดลบอยู่ ใช่แล้วครับ มันติดลบอยู่ ซึ่งช่องที่ตัวเลขติดลบนั้นหากเราคำนวณด้วยมือ/เครื่องคิดเลขเราจะต้องใช้วิธีการลบ(-)/หัก ออกแต่หากใช้สูตรบน Excel เราจะใช้วิธีการ + เข้าไป ช่องไหนที่ตัวเลขติดลบ โปรแกรมก็จะใช้วิธีการลบ/หักออกให้เราเองครับ

กรณีสะดวกคำนวนด้วยมือหรือเครื่องคิดเลข สามารถเอาผลรวมในแถวที่ 5 โดยตั้ง “ช่องที่ 1 – ช่องที่ 2 – ช่องที่ 3 – ช่องที่ 4 – ช่องที่ 5 – ช่องที่ 6 + ช่องที่ 7” ครับ กรณีข้อมูลตามภาพตัวอย่าง จะได้ออกมาเป็น 6687344 – 8954 – 630 – 0 – 2960 – 0 + 126216 ครับ
* ช่องที่ตัวเลขติดลบ ไม่ต้องป้อนตัวเลขแบบติดลบเข้าไปตอนคำนะครับ เป็นให้ค่าเป็นบวกปกติครับ

จากตัวอย่างของทีมงาน จะได้ยอดที่จะใช้ยื่นภาษีคือ 782406 ครับ
เราก็สามารถใช้ยอดนี้ในการยื่นภาษีได้เลย

และบางคนอาจมีคำถามเพิ่มเติมว่า แล้วยอดรายจ่ายของเราล่ะ มียอดไหนบ้างที่สามารถใช้หักค่าใช้จ่ายในการยื่นภาษี กรณีเราใช้วิธีการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง (กรณีนี้ให้เราขอเอกสารต่าง ๆ จากช้อปปี้นะครับ เช่น ใบเสร็จค่าธรรมเนียม ใบเสร็จค่าขนส่ง ใบเสร็จค่าธุรกรรมทางการเงิน ลองติดต่อช้อปปี้ดูครับ ว่าเขาสามารถให้เอกสารรายการไหนกับเราได้บ้าง) ยอดค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้หักได้ยกตัวอย่างเช่น
– ค่าจัดส่งที่ Shopee ชำระโดยชื่อของคุณ ก็เอาช่อง (โอห้า) O5 ที่มียอด 170289 – ช่อง N5 ที่มียอด 50277 จะได้มาเป็นค่าใช้จ่ายค่าขนส่งของเราครับ เช่นจากตัวอย่าง เมื่อคำนวณจะได้มาเป็น 120,012 บาทครับ
– ค่าคอมมิชชั่น ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ
– ค่าบริการ ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ
– ค่าธุรกรรมการชำระเงิน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ

ขั้นตอนการคำนวณเงินได้ สำหรับการยื่นภาษี | ขายของ Shopee เสียภาษีหรือไม่?

จะได้ผลรวมสำหรับใช้ยื่นภาษีขายของออนไลน์ สำหรับร้านค้าช้อปปี้ | ขายของ Shopee เสียภาษีหรือไม่?

เรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับ “ระบบการเงินของ Shopee ที่ผู้ขายควรรู้ ” สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://cdngarenanow-a.akamaihd.net/shopee/seller/seller_cms/5a82a34465f79d98fe6e72c1d037d1a4/EDH-Finance%20Course.pdf

ตอบ ภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยื่นปีละ 2 ครั้ง 

  1. ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี การยื่นภาษีครึ่งปีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณมี เงินได้ประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 (ซึ่งประเภทที่ 8 นี่แหละของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์) รวมกันแล้วเกิน ฿60,000 เท่านั้น (กรณีสถานภาพโสด) โดยจะยื่นภาษีกันช่วงกลางปี คือระหว่าง 1 กรกฎาคม — 30 กันยายน  เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งนึงด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว จะลดลงจาก ฿60,000 เหลือ ฿30,000 บาท (เก็บภาพด้านล่างนี้ไว้เพื่อความเข้าใจ)
ช่วงเวลายื่นภาษี | ขายของช้อปปี้ เสียภาษีไหม
 

และเมื่อพ่อค้าแม่ค้า ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภาษีกลางปี) ไปแล้ว สุดท้ายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี (ภาษีปลายปี) อีกครั้งโดยสรุปเงินได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะแค่เงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องกังวลว่าการเสียภาษี 2 ช่วงเวลานี้พ่อค้าแม่ค้าจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนหรือเสียภาษี 2 ต่อหรือเปล่า เพราะเมื่อเราจะต้องเสียภาษีปลายปี (หรือ ภ.ง.ด. 90) ก็จะมีการนำภาษีกลางปี (หรือ ภ.ง.ด. 94) มาทำการคำนวณไปด้วยเสมอว่าคุณเสียภาษีไปแล้วเท่าไหร่และยังต้องชำระภาษีอีกเท่าไหร่

การยื่นภาษีเมื่อคู่สมรสมีรายได้
หากคู่สมรสมีรายได้ พ่อค้าแม่ค้าสามารถเลือกนำรายได้ของคู่สมรสมารวมคำนวณและยื่นภาษีร่วมกันก็ได้ หรือจะแยกยื่นภาษี กันก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว หากทั้งคู่ต่างฝ่ายต่างมีรายได้ การแยกยื่นภาษีจะช่วยให้ภาระภาษีรวมของทั้งคู่ต่ำกว่าการยื่นภาษีร่วมกัน
 
2. ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม เป็นการสรุปเงินได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะแค่เงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังมายื่นภาษี
 
และอย่าลืม พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย โดยต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียน VAT ที่สรรพากรพื้นที่ ภายใน 30 นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี และในทุก ๆ เดือน จะต้องนำใบกำกับภาษีไปยื่นเพื่อเสียภาษีแก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปครับผม

ตอบ
1.
สำนักงานสรรพากรได้ทุกพื้นที่ ทุกสาขา ทุกแห่ง
2. ยื่นออนไลน์ผ่านเน็ต บนระบบ E-Filing ของกรมสรรพากร ได้ที่ลิงก์ https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php?page=taxonline

ตอบ ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องและติดต่อที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยจะต้องยื่นเพิ่มเติม หรือยื่นเกินกำหนดเวลาซึ่งจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้ครับ นอกจากนี้อาจต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างอยู่และอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า หรือจ่ายภาษีไม่ทันกำหนดอีกด้วยครับ

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ยื่นแบบภาษี) 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

ตอบ สามารถทำตามคลิปวีดีโอของกูรูด้านภาษี โดย พรี่หนอม @TAXBugnoms ได้เลยครับผม


ผู้อ่านเข้าใจว่า ผู้อ่านเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดในการปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามเนื้อหาที่อยู่ในเพจนี้ ซึ่งเป็นเพียงแนวทางที่ได้ให้ไว้เท่านั้น เนื้อหาในปัจจุบันอาจเปลี่ยนไปหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน ทีมงาน Maekha จะไม่รับผิดต่อค่าชดเชยหรือความรับผิดใดๆ สำหรับผลลัพธ์หรือผลที่ตั้งใจไว้กับเนื้อหาที่อยู่ในเพจนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์/แพลตฟอร์มทำงานได้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราสามารถให้บริการตามที่คุณร้องขอได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้ที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่ปลอดภัยได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำและนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีความเหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้บริการ และวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ _ga, _gid, __gads, _gat_UA-*,_gat_gtag_UA_*

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของผู้ใช้บริการในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกแสดงโฆษณาสินค้าที่คุณสนใจ การป้องกันหรือการจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ ๆ เพื่อช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ fr, _fbp, _fbc

บันทึก