ช้อปปี้คิดค่าส่งเกินจากผู้ขาย ขายของในช้อปปี้ เช็คโดนหักค่าขนส่งเกินจากบริษัทขนส่งอย่างไร?

รู้ได้ยังไงว่าช้อปปี้คิดค่าส่งเกินจากผู้ขาย บนความนี้จะมาสอนพ่อค้าแม่ค้าช้อปปี้เช็คกัน

อะไรคือช้อปปี้คิดค่าขนส่งเกินจากผู้ขาย?

 ปัญหาอย่างหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องเจอหากยังขายของอยู่บนช้อปปี้คือ…ปัญหาบริษัทขนส่งคิดค่าจัดส่งพัสดุเกินจากที่ระบบคำนวณไว้ (อาจเพราะชั่งน้ำหนักพัสดุจริง แล้วเกินไปจากระบบ หรือเกิดจากการชั่งน้ำหนักพัสดุผิดพลาด) หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวพ่อค้าแม่ค้าสามารถที่จะส่งเรื่องให้กับช้อปปี้เพื่อขอเคลมค่าจัดส่งพัสดุที่เกินคืนกลับได้โดยใช้หมายเลขคำสั่งซื้อ, น้ำหนักสินค้าที่ชั่งได้จริง, รูปภาพสินค้าพร้อมกล่องบรรจุ วางบนตราชั่งให้เห็นค่าน้ำหนักที่ชัดเจน ดำเนินการส่งเรื่องขอเคลมค่าจัดส่งคืนกับช้อปปี้ภายใน 30 วัน หลังจากที่ผู้ซื้อได้รับสินค้า (สำหรับ Kerry, DHL) และภายใน 14 วัน (สำหรับ Ninjavan)

และจากปัญหาข้างต้น การที่พ่อค้าแม่ค้าจะต้องมานั่งใล่เช็คทีละออเดอร์ว่ามีออเดอร์ไหนที่ระบบมีการคิดค่าบริการจัดส่งเกินไปจากที่ตั้งค่าไว้บ้าง ก็ดูจะลำบากกันพอสมควรสำหรับร้านค้าที่มีปริมาณคำสั่งซื้อเยอะในแต่ละวัน ฉะนั้นแล้ววันนี้แอดมินจะมาแนะนำวิธีที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าเช็คค่าขนส่งพัสดุเกินจริงในรูปแบบภาพรวม (แค่ไม่ขาดทุนก็พอ…) มาให้ทดลองทำตามดูกัน

🔎 เทคนิคการเช็คบัญชีผู้ขายของตนเองว่าช้อปปี้คิดค่าขนส่งเกินจากการตั้งค่าขนส่งไว้ในระบบหรือไม่ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าช้อปปี้

😮 วิธีการนี้จะไม่ใช่การไล่เช็คทีละออเดอร์แต่จะดูเป็นภาพรวมรายสัปดาห์หรือรายเดือน ว่าลูกค้ามีการชำระเงินค่าบริการจัดส่งเข้ามาเท่าไหร่ และช้อปปี้หักเงินค่าบริการจัดส่งออกจากบัญชีของเราไปให้กับบริษัทขนส่งเท่าไหร่
เมื่อทราบแล้วเราจะได้รู้ว่าเราติดลบหรือได้กำไรจากค่าบริการจัดส่งที่ลูกค้าชำระเข้ามา

📌 วิธีการนี้ให้ทำผ่านเว็บเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือมือถือนะ

– เริ่มเลย –
👉 1. เข้าไปที่หน้า “รายงานการเงิน” ได้ที่ลิงก์ https://seller.shopee.co.th/portal/finance/income/statement
เข้าไปแล้วให้ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยบัญชีผู้ขายช้อปปี้ และเมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ช้อปปี้จะถามหารหัสผ่านของบัญชีอีกครั้งเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (ความปลอดภัยสูงงงง 🤔)

ป้อนรหัสผ่านของบัญชี Seller Center เพื่อเข้าสู่หน้าข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน

👉 2. พ่อค้าแม่ค้าจะเจอหน้า “รายงานการเงิน” ในขั้นตอนนี้ให้ทำการเลือกเดือนที่ต้องการจะตรวจสอบโดยจะมีช่องให้พ่อค้าแม่ค้าได้เลือก เช่น กรกฏาคม 2020, มิถุนายน 2020, พฤษภาคม 2020 …. เป็นต้น อยากเช็คของเดือนไหนก็เลือกเลย

👉 3. เมือเลือกเดือนแล้ว ระบบจะแสดงรายงานการเงินแต่ละสัปดาห์ของเดือนนั้น ๆ โดยมีเป็นลิสก์รายการแบ่งเป็นสัปดาห์ เช่น “รายงานการเงินสำหรับ 1 มิ.ย. – 7 มิ.ย. 2020”, “รายงานการเงินสำหรับ 8 มิ.ย. – 14 มิ.ย. 2020” เป็นต้น
ให้พ่อค้าแม่ค้าคลิกเลือก รายงานการเงินในช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบ เช่น คลิกที่ “รายงานการเงินสำหรับ 1 มิ.ย. – 7 มิ.ย. 2020” เพื่อเข้าไปตรวจสอบ

👉 4. เมื่อระบบได้เปิดรายงานการเงินในช่วงเวลาที่เลือกแล้ว ให้พ่อค้าแม่ค้าเลื่อนหน้าเว็บไซต์ลงมาด้านล่าง จะพบกับตาราง “รายละเอียดการโอนเงิน” ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเช็คว่าเราขาดทุนในภาพรวมกับค่าบริการจัดส่งที่ถูกหักเกินไปหรือไม่

ช้อปปี้คิดค่าขนส่งเกินจากผู้ขายคำนวณยังไงจากตารางนี้

👉 5. จากตารางนี้ (ดูภาพประกอบ)
ให้พ่อค้าแม่ค้าเอาตัวเลขผลรวมด้านล่างสุดของตารางในช่องดังต่อไปนี้
ในช่องที่ 1 คือ “ค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ”
“บวกกับ”
ช่องที่ 3 คือ “ค่าจัดส่งสินค้าที่ออกโดย Shopee”
“ลบด้วย”
ช่องที่ 2 คือ “ค่าจัดส่งที่ Shopee ชำระโดยชื่อของคุณ”
เช่นจากภาพ นำยอด (3,412 + 1,521) ลบด้วยยอด 4,832 จะได้เป็นยอดเงินค่าบริการจัดส่งที่ท่านถูกหักเกิน (ตัวเลขติดลบ) หรือได้กำไรจากค่าบริการจัดส่งที่ลูกค้าชำระเข้ามา (ตัวเลขเป็นบวก) เช่น ผลลัพธ์คือ 101 หมายความว่าเดือนนี้แอดมินได้กำไรจากค่าจัดส่งพัสดุของลูกค้า 101 บาท เป็นต้น

วิธีการนี้พ่อค้าแม่ค้าสามารถที่จะประยุกต์บวกลบเป็นรายวันก็ได้เช่นเดียวกัน (ใช้ยอดรายวันในแต่ละแถวบวกลบเอา)

เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ค้าก็สามารถเช็คบัญชีผู้ขายของตัวเองได้แล้วว่าขาดทุนหรือได้กำไรจากค่าบริการจัดส่งที่ลูกค้าชำระเข้ามาและโดนหักไปจากระบบ
วิธีการนี้เหมาะกับร้านค้าที่มีจำนวนออเดอร์เยอะ ๆ ไม่อยากไล่ตามเก็บค่าบริการจัดส่งที่ละออเดอร์ที่ถูกหักไป ขอเพียงไม่ขาดทุนจากค่าบริการจัดส่งก็พอ

สรุปสูตรอีกครั้ง (ช่อง 1 + ช่อง 3) – ช่อง 2 = ค่าบริการจัดส่งที่ได้มา (ตัวเลขเป็นบวก) หรือเสียไป (ตัวเลขเป็นลบ ขาดทุนเด้ออ)
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขาดทุนจากค่าบริการจัดส่งที่ถูกหักไปเมื่อทราบแล้วก็ค่อยตามขอเคลมเงินคืนจากช้อปปี้ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์/แพลตฟอร์มทำงานได้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราสามารถให้บริการตามที่คุณร้องขอได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้ที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่ปลอดภัยได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำและนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีความเหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้บริการ และวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ _ga, _gid, __gads, _gat_UA-*,_gat_gtag_UA_*

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของผู้ใช้บริการในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกแสดงโฆษณาสินค้าที่คุณสนใจ การป้องกันหรือการจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ ๆ เพื่อช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ fr, _fbp, _fbc

บันทึก