ตั้งราคาขายในช้อปปี้ยังไง ไม่ให้ขาดทุน!

ตั้งราคาขายในช้อปปี้ยังไง ไม่ให้ขาดทุน!

แจกสูตรการตั้งราคาขายในช้อปปี้ง่าย ๆ ที่แยกกำไรออกจากค่าธรรมเนียมการขายชัดเจน!

ตั้งราคาขายในช้อปปี้

👉 ใช้ได้กับทุกสินค้าภายในร้านค้า 😊
 สูตรนี้เป็นสูตรที่เมื่อพ่อค้าแม่ค้าจัดแคมเปญลดราคา โดยลดตามเปอร์เซ็นต์กำไรของท่าน จะไม่ขาดทุนเหมือนกับวิธีการคิดทั่วไป

สูตรปกติลองจิ้มเครื่องคิดเลขตามนี้ดูนะ
– ราคาทุน 950 บาท
– กำไรที่ต้องการคือ 30%
👉 ลองเอา 950 + 30% ( กด 950 + 30 แล้วกดเครื่องหมาย % ตามด้วยปุ่ม = ) ผลลัพธ์ของราคาขายคือ 1,235 บาท
และเมื่อลดราคา (เท่าทุน) กลับคือ 1,235฿ – 30% (วิธีการกดเครื่องคิดเลขเหมือนเดิม) ผลลัพธ์จะเท่ากับ 864.5 บาท ขาดทุน❗️ (เพราะต้นทุนอยู่ที่ 950 บาท) ทั้ง ๆ ที่ก็ลดตามเปอร์เซ็นต์กำไรที่ตั้งไว้นี่น่า
 พ่อค้าแม่ค้าหลายท่านมีสินค้าหลายรายการ บางท่านจะจำแค่ว่าปกติตัวเองตั้งอัตรากำไรที่ที่เท่าไหร่ เช่น บางท่านตั้งไว้ที่ 30% ก็จำแค่นี้ ไม่ได้จำราคาทุน เพราะสินค้าหลายรายการมาก ทำให้บางครั้งเมื่อเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ หรือตั้งลดราคา อาจขาดทุนได้โดยไม่รู้ตัว

📌 เอาล่ะมาดูสูตรการตั้งราคาขายในช้อปปี้ที่แอดมินแนะนำกัน
👉 สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ต้นทุนสินค้าชิ้นนั้น รวมต้นทุนค่าแพ็ค (บาท)
2. เปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ (เปอร์เซ็นต์)
3. เปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมช้อปปี้ที่จ่ายอยู่ (เปอร์เซ็นต์)
👉 เบื้องต้นทุกร้านค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินของลูกค้าที่ 2%
👉 หากพ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ของช้อปปี้ให้บวกเปอร์เซ็นต์ที่จะต้องเสียเพิ่มเข้าไป

👌 ตัวอย่าง เตรียมยังไงมาดู
1. ต้นทุนสินค้า ซื้อมาเท่าไหร่ เช่น ซื้อมา 70 บาท และมีต้นทุนค่ากล่อง บับเบิ้ลกันกระแทกและสก็อตเทปอีก รวม ๆ เลย 5 บาท ดังนั้นรวมต้นทุนสินค้าชิ้นนี้คือ 75 บาท (สินค้าแต่ละตัวที่พ่อค้าแม่ค้าขาย ก็มีต้นทุนของตัวเองที่แตกต่างกัน)

2. เปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ เช่น อยากได้กำไร 35% หรือ 30% หรือ 25% เป็นต้น อัตรากำไรในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าที่เราขายและราคาตลาดด้วย ลองค้นหาใน Google ดูว่าสินค้าที่เราขายอยู่ปกติแล้วอัตรากำไรเขาขายกันอยู่ที่กี่ % แต่เพื่อให้ง่ายตอนนี้ลองสมมุติเอาก่อนก็ได้ครับแนะนำเป็น 20-35% ก่อน

3. เปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมของช้อปปี้ (ดูกรอบเส้นประในภาพประกอบ) โดยปกติพ่อค้าแม่ค้าจะเสียค่าธรรมเนียมการชำระเงินยืนพื้นอยู่แล้วที่ 2% ในทุก ๆ ออเดอร์ และหากท่านเข้าร่วมแคมเปญการขายต่าง ๆ ของช้อปปี้ด้วยและเป็นร้านค้า Shopee Mall ด้วย ก็จะมีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มเข้ามา บวกให้ครบทุกรายการที่โดยหัก จนได้เป็นเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมรวมที่เสียให้กับช้อปปี้
* หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 2% เอาจริง ๆ เวลาคำนวณเผื่อไว้เป็นราคาขาย ราคามันก็ไม่ได้ 100% (เมื่อเราโดนหักจริงๆ) เพราะตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าลูกค้าจะใช้ Coin เป็นส่วนลดไหม หรือในอนาคตเราอาจมีการจัดโปรโมชั่น หรือช้อปปี้อาจให้ส่วนลดอะไรแก่ลูกค้าบ้าง หรือสินค้านี้มีค่าจัดส่งเท่าไหร่ในช่วงเวลานั้น ๆ ดังนั้นคิดเผื่อไว้ก่อน ดีกว่าไม่คิดเลย เพราะสินค้าชิ้นเดียวกันบางครั้งลูกค้าซื้อก็ไม่ได้ชำระเงินเท่ากัน (ค่าธรรมเนียมตรงนี้คิดจากราคาสินค้า + ค่าขนส่ง และหัก Coin ที่ลูกค้าใช้ รวมถึงส่วนลดต่าง ๆ ทั้งที่ร้านค้าให้ลูกค้าเองและช้อปปี้ให้กับลูกค้า)

🛎 เริ่มกันเลย!
ยกตัวอย่างเคสของแอดมิน สำหรับพ่อค้า/แม่ค้า ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองได้เลย
👉 ต้นทุนสินค้า รวมต้นทุนแพ็คของ 75 บาท
👉 กำไรที่ต้องการ 35 (เปอร์เซ็นต์)
👉 แอดมินเสียค่าธรรมเนียมให้กับช้อปปี้ทั้งหมด 7% แบ่งเป็น
👉 ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่ 2%
👉 เข้าร่วมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- และแคมเปญ Coins Cashback, เมื่อเข้าทั้งสองแคมเปญ เสียแบบเหมา ๆ ที่ 5%

🛎 เอาล่ะ สูตรการคิดคือ..
(100 x ต้นทุนต่อชิ้น) / 100 – (% กำไรที่ต้องการ + % ค่าธรรมเนียมรวมของช้อปปี้)
* ให้คำนวณในวงเล็บก่อน

👉 มาดูกัน (ยกตัวอย่างจากเคสของแอดมิน)
Step 1 : (100 x 75) / 100 – (35 + 7)
Step 2 : 7500 / 100 – 42
Step 3 : 7500 / 58
Step 4 : 129.31.- หรือ 129.- #นี่คือราคาขายของสินค้า

🔑 มาดูเพิ่มอีกซัก 1 ตัวอย่าง เพื่อความเข้าใจ
สินค้า : หูฟังไร้สาย (สินค้านี้อยู่ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์)
* สมมุติว่าเคสนี้ร้านค้าของแอดมินเป็นร้าน Shopee Mall
👉 ต้นทุนสินค้า รวมต้นทุนแพ็คของ 950 บาท
👉 กำไรที่ต้องการ 30 (เปอร์เซ็นต์)
👉 เสียค่าธรรมเนียมให้กับช้อปปี้ทั้งหมด 11% แบ่งเป็น
👉 ค่าธรรมเนียมร้านค้า Shopee Mall และขายสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ เสียที่ 5%
👉 ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่ 2%
👉 เข้าร่วมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- ที่ 4%
* ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้า Shopee Mall คิดที่ 3% ยกเว้นสินค้าที่ลงขายนั้นอยู่ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) คิดที่ 5% (เฉพาะสินค้านะ ชิ้นไหนไม่ใช่หมวดอิเล็กฯ ก็คิดแค่ 3%)
* สินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) หมายถึงสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้ กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ (Cameras) มือถือและอุปกรณ์เสริม (Mobile & Gadgets)
คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป (Computers & Laptops) เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliances) สื่อบันเทิงภายในบ้าน (Home Entertainment) และเกมและอุปกรณ์เสริม (Games and Accessories)

👉 ลองคำนวณเคสนี้ดู
Step 1 : (100 x 950) / 100 – (30 + 11)
Step 2 : 95000 / 100 – 41
Step 3 : 95000 / 59
Step 4 : 1,610.16.- หรือ 1,611.- #นี่คือราคาขายของสินค้า สำหรับเคสนี้

สมมุติว่าเอาเคสนี้เอามาจัดโปรลดราคา (เท่าทุน) ดูนะว่าจะขาดทุนไหม
👉 ราคาสินค้าปกติ 1,611.- บาท
👉 ลดราคา 30% (ลดเท่าทุน) เหลือราคาขายที่ 1,127.70 หรือ 1,128.- บาท
👉 ค่าบริการจัดส่งที่ลูกค้าชำระ 40 บาท (ทดไว้ก่อนจะต้องคำนวณค่าธรรมเนียมการชำระเงิน)
 เสียค่าธรรมเนียมร้านค้า Shopee Mall (ที่ 5% ของราคาสินค้าหลังลด) = 56.4 บาท
 เสียค่าธรรมเนียมแคมเปญ ส่งฟรี 99.- (ที่ 4% ของราคาสินค้าหลังลด) = 45.12 บาท
 เสียค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (คิดจากราคาสินค้า + ค่าบริการจัดส่ง ที่ 2%) 23.36 บาท

-:- สรุป -:-
👉 ราคาสินค้าหลังลด 1,128.- บาท
 รวมเสียค่าธรรมทั้งหมด 124.88.- (ช้อปปี้ปัดเศษขึ้น) เป็น 125.- บาท
 คงเหลือ 1,003.- บาท ยังไม่ขาดทุน!

และนี่ก็เป็นอีก 1 วิธีการตั้งราคาขายในช้อปปี้ที่แอดมินอยากจะมาแบ่งปัน จากการประยุกต์ใช้ในการคำนวณราคาขายสินค้าของแอดมินเอง

อย่าลืมว่าราคาสินค้าที่ขายนั้นต่างกันเพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า พ่อค้าแม่ค้าเองก็ควรดูปัจจัยอื่นร่วมด้วย

ราคาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญของการขายสินค้าและการทำธุรกิจ พยายามอย่าแข่งขันกันด้วยสงครามราคา แต่ให้นำเสนอผ่านคุณค่าของตัวสินค้า คุณภาพของการบริการ คอนเทนต์การขาย เช่น รูปภาพสินค้า วิธีการใช้เพื่อซื้อใจลูกค้าแทน

ขอบคุณที่อยู่กันจนจบ
ขอให้ขายดีปัง ๆ ทุกชิ้น ทุกร้านนะครับ
สำหรับร้านไหนที่ต้องการขายดีเพิ่มขึ้นแนะนำให้ทดลองใช้งานช้อปปี้บูสต์ครับ ^^

เพจของเรามีทั้งเครื่องมือและเทคนิคเด็ด ๆ ที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าขายของได้ดีขึ้น กดติดตามเพจไว้ มีอัพเดทเรื่อย ๆ แน่นอน
https://www.facebook.com/maekha.th/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์/แพลตฟอร์มทำงานได้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราสามารถให้บริการตามที่คุณร้องขอได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้ที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่ปลอดภัยได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำและนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีความเหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้บริการ และวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ _ga, _gid, __gads, _gat_UA-*,_gat_gtag_UA_*

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของผู้ใช้บริการในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกแสดงโฆษณาสินค้าที่คุณสนใจ การป้องกันหรือการจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ ๆ เพื่อช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ fr, _fbp, _fbc

บันทึก