รีเบท กลยุทธ์ของแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ที่มาของแฟลชเซลล์ 1 บาท 9 บาท!

รีเบท กลยุทธ์ของแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ที่มาของแฟลชเซลล์ 1 บาท 9 บาท!

รีเบท หรือ Rebate ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาด

รีเบท คือ เงินคืน (เงินคืนอะไรกัน?) สำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่กับการนำสินค้าลงขายในช่องทางใหญ่ ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่น ขายในห้าง ขายในร้านสะดวกซื้อเจ้าดัง ๆ ที่แต่ละเดือน (หรือแต่ละปี) มียอดขายเยอะ ๆ เป็นหลักหมื่น หลักแสนชิ้น จะรู้จักกับคำว่ารีเบทดี เพื่อให้เห็นภาพกับความหมายของรีเบท จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น นาย ก มีสินค้าเป็นน้ำยาปรับผ้านุ่มยี่ห้อหนึ่ง ส่งขายอยู่ในห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ โดยมีการตกลงกับห้างฯ ที่ลงขายสินค้าไว้ว่า ถ้ายอดขายในปีนี้ถึง 10,000,000 (สิบล้านบาท) จะให้รีเบท (เงินคืน) แก่ห้างที่ 1% เป็นต้น

แบบนี้นอกจากห้างจะได้กำไรจากการขายปกติแล้ว ยังได้เงินคืน 1% ซึ่งคำนวณจากยอดขายด้วย (ดีเลยไหมละ) และฝั่งนาย ก เองก็ได้ประโยชน์เป็นการกระตุ้นให้ห้างขายสินค้าของตัวเองเพิ่มขึ้น จัดโปรเพิ่มขึ้น เพื่อทำยอดกลับมาสั่งซื้อสินค้าที่นาย ก นั่นเอง (แฟร์ๆ ทั้งสองฝ่าย)

รีเบท ลดสนั่นโดยแพลตฟอร์ม

การรีเบทนั้นมีหลายแบบ แอดมินจะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพซัก 1-2 รูปแบบ

– แบบแรก จ่ายแบบไม่มีเงื่อนไข (ตั้งเปอร์เซ็นต์รีเบทอย่างเดียว เช่นรีเบท 1% 2% 3%) ตัวอย่างเช่น ยอดขายเท่าไหร่ก็รีเบทไปเลย 1% เช่นยอดขาย 1,000,000 (1 ล้าน) ก็คำนวณเป็นรีเบท 10,000 บาท, ยอดขาย 10,000 คำนวณเป็นรีเบท 100 บาท เป็นต้น

– แบบที่สอง จ่ายแบบมีเงื่อนไข (มีขั้นต่ำของยอดถึงจะจ่ายรีเบทเป็นเท่านี้ๆ เปอร์เซ็นต์) เช่น เป้าหมายยอดขาย 1,000,000 (1 ล้าน) ถึงจะได้รีเบท 1% ไม่งั้นไม่ได้รีเบทเลย หรือ เป้าหมายยอดขาย 1 ล้าน ให้รีเบท 1% และหากยอดขาย 1 ล้าน 2 แสน ให้รีเบท 1.1% เป็นต้น เป็นขั้นบันไดไปเรื่อย ๆ ตามที่ตกลงกัน

รีเบทนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องของเงินคืนแล้ว ยังใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ตั้งราคาขายด้วย ลองคิดดูนะว่า ถ้าห้าง A และห้าง B ขายสินค้าเดียวกัน (ซึ่งทั้งสองห้างมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ) แต่ห้าง A ขายถูกกว่า จากการที่ยอมได้กำไรน้อยแต่ขายได้ยอดขายเยอะกว่า เพื่อที่จะได้เงินรีเบทมาทดแทนกำไรบางส่วนที่หายไป อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้คนมาเดินห้าง A อีกด้วย นี่แหละครับพลังของการรีเบท

รีเบท กับสินค้าราคาลด
1 บาท / 9 บาท

คุณเคยเข้าแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์เจ้าดังแล้วเจอราคาสินค้าลดจากหลักร้อยบาท เหลือ 1 บาท, เหลือ 9 บาท ไหมครับ?
ใช่ ผมว่าคุณเองคงเคยเห็นมาบ้าง และหนึ่งในผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ก็อาจเคยซื้อมานับชิ้นไม่ถ้วนแล้ว แล้วสงสัยไหมว่า ร้านค้าที่ขายนั้น..ได้อะไร

ใช่ครับ ร้านได้อะไร ซึ่งได้แน่นอน อย่างน้อย…

  1. ขาดทุน…แต่
  2. ได้ผู้ติดตามร้านค้าเพิ่มขึ้น…
  3. ได้จำนวนยอดขายของสินค้านั้นเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าดูน่าเชื่อถือ…
  4. ได้รีวิวสินค้าเพิ่มขึ้น (ของต้องดีด้วยนะถึงจะโอเค)
  5.  และอื่น ๆ ที่มีผลทางตรง ณ ตอนที่สินค้าลดราคาและทางอ้อมที่จะมีผลในอนาคตหลังจากแคมเปญลดราคานี้ผ่านไปแล้ว (ทั้งดีและเสีย)

คุณว่าร้านค้ายอมขาดทุนเพื่อแลกกับสิ่งนี้จริง ๆ เหรอ?

  • จริงครับ เชื่อไหมว่าบางครั้งลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าราคา 1 บาท ไม่ได้ซื้อแค่ 1 บาท แต่กลับพ่วงสินค้าอื่น ๆ ภายในร้านไปด้วย เพราะอะไร? เพราะบางครั้งลูกค้ามีโค้ดส่งฟรีก็แอบเสียดาย (กลัวไม่คุ้มที่ใช้โค้ด) เลยซื้อพ่วง ๆ ไปด้วย
  • จริงครับ บางร้านเปิดใหม่ จัดครั้งเดียวแล้วปัง แถมลูกค้าติดอีก โตไปอีกขั้นครับ
  • จริงครับ ช่วยเพิ่มยอดวิวและผู้ติดตามได้ดีทีเดียว และอื่นๆ อีกหลายเหตุผล ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายของร้านค้าคืออะไร
เอาล่ะแล้วมันเกี่ยวอะไรกับการรีเบท #แอดมินจะเล่าให้ฟัง
อย่างที่เรารู้กันดีว่าตลาดอีคอมเมิร์ชบ้านเรามันดุเดือดขนาดไหน ยิ่งลูกค้ามีตัวเลือกในตลาดน้อย แต่ละแพลตฟอร์มก็ยิ่งต้องแย่งลูกค้าให้มีทราฟฟิกเข้าแพลตฟอร์ของตัวเองเยอะ ๆ และเมื่อร้านค้า 1 ร้าน เปิดขายมากกว่า 1 แพลตฟอร์ม จึงเกิดเป็นกลยุทธ์ที่จะสร้างความโดดเด่นให้กับร้านค้านั้นๆ ในแพลตฟอร์มตัวเอง
.
.
ผมให้เวลาคุณลองเดาดูว่าแต่ละแพลตฟอร์มจะใช้วิธีการไหนในการดึงลูกค้าของร้านค้า จากอีกแพลตฟอร์มนึงเข้ามายังแพลตฟอร์มของตัวเอง
.
.
ใช่ ใช่แล้วครับ “รีเบท” ไง แล้วทำยังไงล่ะ?

ง่ายมาก “ก็ให้ร้านค้าลดราคาไปเลยโหดๆ” จากหลักร้อยเหลือ 1 บาทบ้าง เหลือ 9 บาทบ้าง ก็ว่าไป แล้วส่วนต่างของราคาที่ลดโหด ๆ ล่ะ ใครจะรับผิดชอบ?

ใช่ครับ ไม่ต้องกังวล แพลตฟอร์มจะรีเบทให้คุณเอง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ร้าน A ขายเสื้อแฟชั่นตัวนึง 99 บาท ซึ่งขายดีมากๆ บนแพลตฟอร์ม S แต่ร้าน A ก็เปิดขายเสื้อตัวนี้ในแพลตฟอร์ม L ด้วยเช่นกัน ซึ่งยอดขายก็ดีทั้งคู่ ต้องบอกว่าดีมากเลยทีเดียวล่ะ (ว่าซั่น) ต้องสมมุติให้อินหน่อย

แพลตฟอร์ม S เห็นว่าร้านค้า A มีแววจะสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์มอย่างมากในอนาคตจึงส่งน้องจอย เจ้าหน้าที่ดูแลร้านสุดสวยเข้าประกบร้าน A เพื่อยื่นข้อเสนอบางประการ…

น้องจอย : พี่คะ จอยเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลร้านจากแพลตฟอร์ม S นะคะ ร้านพี่ขายดีมาก ๆ เลย จอยอยากจะดูแลให้ร้านพี่ขายดียิ่งขึ้นด้วยการพาร้านพี่เข้าลงแฟลชเซลล์บนแพลตฟอร์มของเราค่ะ

  • ร้าน A : อ่อครับ แล้วผมจะเสียอะไรบ้างครับ

น้องจอย : ไม่เสียอะไรเลยค่ะ มีแต่ได้กับได้ค่ะ อย่างแรกเลย ได้ยอดการสั่งซื้อสินค้าชิ้นนั้นจะพุ่งขึ้นแน่นอนจากการลงแฟลชเซลล์ค่ะ จะยิ่งทำให้สินค้านั้นดูน่าสนใจมากขึ้น เพราะจำนวนชิ้นที่ขายได้จะเยอะมาก ๆ ค่ะ และอย่างที่สองจะช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มอัตราการมองเห็นสินค้า อัตราการกดติดตามร้านค้าจากการที่ลูกค้าตามมาจากแฟลชเซลล์ได้ดีเลยทีเดียวค่ะ

  • ร้าน A : ครับ แล้วผมต้องทำอย่างไรบ้างครับ

น้องจอย : ขั้นตอนไม่ยุ่งยากค่ะ เดี๋ยวจอยส่งฟอร์มให้กรอกรายละเอียดสินค้าและสต็อกนะคะ รบกวนร้านกรอกเข้ามา ที่เหลือเดี๋ยวจอยจะดำเนินการให้และจะแจ้งวันที่ร้านค้าได้รับการลงแฟลชเซลล์ให้นะคะ จะได้ไปประชาสัมพันธ์ร้านไว้ล่วงหน้าค่ะ ราคาลดในแฟลชเซลล์ จอยจะลดให้เหลือราคา 9 บาทนะคะ จากราคาปกติ 99 บาท ส่วนต่างอีก 90 บาท เดี๋ยวทางแพลตฟอร์มจะรีเบทให้ร้านค้าพร้อมกับคำสั่งซื้อนะคะ

  • ร้าน A : ยังไงครับ ไม่ค่อยเข้าใจ

น้องจอย : แฟลชเซลล์ที่จอยจะลงให้ จะขายสินค้าของร้านในราคา 9 บาท เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ทางแพลตฟอร์มของจอยก็จะจ่ายให้อีก 90 บาท เป็น 99 บาทค่ะ แต่ขอสต็อกขั้นต่ำที่ประมาณ 500 ตัว พอจะไหวไหมคะ

  • ร้าน A : ไหวครับ ๆ ตกลงครับ

แบบนี้เป็นต้นครับ ซึ่งการรีเบทแบบนี้จะเป็นการที่แพลตฟอร์มออกส่วนต่างของราคาลดให้ เพื่อกระตุ้นให้ฐานลูกค้าของร้านค้าหนีจากแพลตฟอร์มคู่แข่งมายังแพลตฟอร์มของตัวเองชั่วคราว หรือเพื่อดึงลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยใช้แพลตฟอร์มให้เข้ามาลงทะเบียนใช้งานเพื่อซื้อสินค้าชิ้นนี้ หรือเพื่อดึงให้ลูกค้าเก่า (ลูกค้าปัจจุบัน) ของแพลตฟอร์มให้มาจดจ่อรอซื้อของตามช่วงเวลาที่มีการจัดแคมเปญและให้ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น โค้ดส่งฟรี โค้ดลดราคาอื่น ๆ เป็นต้น

แบบนี้แพลตฟอร์มจะได้เลยคือ
  1. ทราฟฟิกการเข้าใช้งานที่เพิ่มขึ้น
  2. ลูกค้าใหม่ที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น ได้ทดลองใช้ หรือได้ลองเปิดใจใช้งาน ในกรณีที่ใช้อีกแพลตฟอร์มเป็นประจำอยู่แล้ว
  3. จำนวนคำสั่งซื้อในภาพรวมของแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น
  4. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้าหนึ่งที่อยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเองให้เหนือกว่าแพลตฟอร์มของคู่แข่ง เพื่อคาดหวังให้ร้านค้าอยู่กับแพลตฟอร์มไปนาน ๆ และเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มในอนาคต
  5. อื่นๆ
และฝั่งร้านค้าล่ะ
  1. ได้ยอดขายเพิ่มขึ้นแน่นอน
  2. ได้ผู้ติดตามร้านค้าเพิ่มขึ้น มีคนรู้จักร้านค้าเพิ่มขึ้น
  3. ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นจากยอดสินค้าที่ขายและรีวิวต่าง ๆ ที่จะมีมาหลังจากแคมเปญนี่เสร็จสิ้นลง
จะเห็นได้ว่าหากเทียบการรีเบทตามแนวคิดที่แอดมินเกริ่นไว้ในข้างต้น กลับสลับกันโดยสิ้นเชิง ถ้าเปรียบแพลตฟอร์มเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าก็คงเป็นซัพพลายเออร์หรือคู่ค้ารายใหญ่ และแทนที่ร้านค้าจะให้รีเบทกับแพลตฟอร์มจากการที่แพลตฟอร์มให้พื้นที่ร้านค้าได้จำหน่ายสินค้า ก็กลับกัน เปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มให้รีเบทกับร้านค้าโฟกัสกับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเป็นพิเศษ
แล้วจะทำยังไงให้แพลตฟอร์มหันมาสนใจให้รีเบทกับร้านค้าของเราบ้างละ
  1. ทำร้านให้น่าสนใจ มียอดขายที่ดีประมาณนึง (ขายดี ต้องมีกำไรด้วย ดูบทความการตั้งราคา ได้ที่นี่)
  2. ทำร้านให้ดูมีรีวิวที่ดี บริการที่ดี จากการสั่งซื้อของลูกค้า
  3. ทำตามกฎของแพลตฟอร์มเพื่อรักษาสิทธิ์ในการเข้าร่วมแคมเปญหรือข้อเสนอต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มไว้
จากนั้นก็รอลุ้นให้ทีมงานติดต่อมา แต่ก็ไม่ได้มีอะไรมาวัดผลว่าร้านค้าของเราจะเข้าตาทีมการตลาดของแพลตฟอร์มที่จะมารีเบทให้กับเราหรือไม่ แต่ท้ายสุดแล้วการดูแลร้านค้าของเราให้ดีในแต่ละแพลตฟอร์มก็เป็นการต้อนรับลูกค้าที่ดีซึ่งจะช่วยสร้างยอดขายให้กับเราอย่างมหาศาลในอนาคต และสำหรับการเตรียมตัวในข้อ 1 ข้างต้นที่กล่าวไป หากร้านค้าไม่ได้เปิดมานาน ฐานลูกค้ายังน้อยอยู่ ก็อาจจะมีบ้างที่จะต้องกัดฟันยอมลดราคาเข้าเนื้อตัวเองถึงแม้จะยังไม่มีรีเบทจากแพลตฟอร์ม เพื่อปั้นร้านให้ลูกค้าได้รู้จักมากขึ้น ได้ลองซื้อและลองใช้บริการจากร้านค้ามากขึ้น
 
ที่เหลือก็อยู่ที่ร้านค้าแล้วล่ะว่าจะตรึงลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะต้นทุนของการดูแลลูกค้าเก่า “ถูกกว่า” การหาลูกค้าใหม่เสมอ
 
หากบทความนี้มีประโยชน์ แอดมินฝากแชร์เป็นความรู้ต่อ และฝากกดติดตามเพจเพื่อรับบทความดี ๆ ในการขายของออนไลน์กันด้วยนะครับ
>>> https://www.facebook.com/maekha.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์/แพลตฟอร์มทำงานได้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราสามารถให้บริการตามที่คุณร้องขอได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้ที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่ปลอดภัยได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำและนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีความเหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้บริการ และวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ _ga, _gid, __gads, _gat_UA-*,_gat_gtag_UA_*

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของผู้ใช้บริการในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกแสดงโฆษณาสินค้าที่คุณสนใจ การป้องกันหรือการจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ ๆ เพื่อช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ fr, _fbp, _fbc

บันทึก