โดนร้านอื่นก็อปรูปสินค้าไปใช้ ดำเนินการอย่างไรดีบนช้อปปี้

แจ้งรายงานโพสสินค้าบนช้อปปี้แอบก็อปรูปภาพสินค้าไปใช้งาน

บางท่านอาจจะเคยเจอ บางท่านอาจจะยังไม่เจอ บางท่านอาจกำลังทำอยู่ หรือบางท่านอาจกำลังโดนกระทำ สำหรับกรณีก็อปรูปภาพสินค้าไปใช้งานในการจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ แต่หากแพลตฟอร์มนั้นคือช้อปปี้ บทความนี้จะมาแนะนำวิธีการดำเนินการร้องเรียนเพื่อให้ทีมงานช้อปปี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

จัดการยังไง? กับร้านค้าที่ก็อปรูปสินค้าเราไปใช้

1. ร้องเรียนช้อปปี้ เพื่อดำเนินการกับสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพของเรา
2. จัดการฟ้อง เรียกร้องค่าเสียหายในทางกฎหมาย (ทำเพิ่มได้หากต้องการ) ดูตัวอย่างแนวทางได้ที่เพจนายคู่ใจ https://facebook.com/applawyer/posts/1099337686773911/

ลิขสิทธิ์รูปภาพเกิดขึ้นเมื่อไหร่?

ตั้งแต่วินาทีที่คุณกดถ่ายรูป (หรือสร้างมันขึ้นมาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) และถูกบันทึกเป็นภาพขึ้นมา ภาพนั้นก็ได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์แล้ว โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนตามกฏหมายเลย ถึงแม้ว่ากล้องหรืออุปกรณ์ตัวที่ใช้ถ่าย (สร้างสรรค์งาน) จะไม่ใช่ของตัวเองก็ตาม ลิขสิทธิ์ในงานนั้นก็ยังคงเป็นของผู้กดถ่ายภาพ (สร้างสรรค์งาน) อยู่ดี

ถ้าจ้างคนอื่นถ่ายรูป (สร้างสรรค์งาน) ให้ ลิขสิทธิ์เป็นของใคร?

ผลงานทุกอย่างที่เราจ้างหรือสั่งให้ผู้รับจ้างทำงานให้และจ่ายผลตอบแทนให้แล้ว ผลผลิตหรือผลงานชิ้นนั้น ก็จะตกและเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา (ผู้ว่าจ้าง) ถึงแม้ลิขสิทธิ์เบื้องต้นจะเป็นของผู้ผลิตผลงาน (ช่างภาพ) ส่วนเราจะนำผลงานไปทำอะไรก็ล้วนแล้วแต่กรรมสิทธิ์ของเราในการเผยแพร่ แก้ไข ใช้งาน ยกเว้นมีการทำสัญญาระบุเป็นลายลักอักษรในขอบเขตการใช้งาน (ตามกฏหมาย) ว่าการจ้างงานนั้น ๆ จะรวมถึง กรรมสิทธิ์ทั้งหมดและลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่

ใครจะเป็นคนรับผิดจากกรณีก็อปรูปสินค้าเราไปใช้

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากรูปของเรา เช่น เจ้าของร้าน ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ที่ก็อปรูปสินค้าของเราไปใช้ด้วยตนเอง (อาจเป็นพนักงานที่ดูแลร้านเป็นคนกระทำ) แต่เจ้าของร้านก็ได้รับเงินจากการขายสินค้าหรือเรียกว่าได้รับผลประโยชน์จากงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของเรา (ถึงแม้จะยังขายไม่ได้ซักชิ้นเดียว ก็ถือว่ามีเจตนาละเมิด ในการหาผลประโยชน์ทางการค้า)
               Shopee ได้มีการแจ้งไว้บนบทความเกี่ยวกับ “การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของ Shopee” ว่า “Shopee ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและไม่ยิมยอมให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นบนแพลทฟอร์มช็อปปี้” อ้างอิง https://help.shopee.co.th/s/article/Intellectual-property-Shopee
               จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้ไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของใครบนช้อปปี้ และใครก็ไม่มีสิทธิ์มาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเราเช่นเดียวกัน

ประเภทการละเมิดที่ Shopee ให้ความสำคัญ

1. การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งเป็น

1.1) สินค้าปลอมแปลง / ละเมิดเครื่องหมายการค้า – การใช้เครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้า เพื่อโฆษณา, อ้างอิง ผ่าน ชื่อ รูปภาพ หรือคำอธิบายเนื้อหาสินค้า รวมทั้งจำหน่ายสินค้าปลอมแปลงภายใต้เครื่องหมายการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลหรือองค์กรอันเป็นเจ้าของสิทธิ์เครื่องหมายการค้า ตัวอย่างเช่น มีการแอบอ้างนำชื่อแบรนด์ของท่านไปขายสินค้า ทั้งที่จริงแล้วเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ร้านค้าดังกล่าวก็ไม่ได้จัดส่งสินค้าจริง ๆ ภายใต้แบรนด์ของท่านออกไป แต่จัดส่งสินค้าปลอม ลอกเลียนแบบ เกรดคุณภาพต่ำ อย่างนี้ถือว่ามีความผิดฐานไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน

1.2) ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม – สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่มีองค์ประกอบลวดลาย สี หรือโครงสร้างของตัวผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ นำมาจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลหรือองค์กรอันเป็นเจ้าของสิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่น ท่านเป็นเจ้าของแบรนด์ที่มีการผลิตสินค้า โดยที่ท่านออกแบบรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์เองและมีการจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ของสินค้าชิ้นนั้นไว้ เมื่อมีคนมาละเมิด โดยที่ท่านไม่ทราบและไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือองค์กรของท่าน โดยมีการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงขึ้นมาเพื่อการจัดจำหน่าย ไม่ว่าจะมีแบรนด์หรือไม่มีแบรนด์ บุคคล/ร้านค้านั้นย่อมมีความผิดในฐานละเมิดสิทธิบัตรของท่าน

1.3) ละเมิดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ – สินค้าหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีองค์ประกอบลวดลาย สี หรือโครงสร้างของตัวผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ นำมาจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลหรือองค์กรอันเป็นเจ้าของสิทธิ์ ตัวอย่างคล้ายคลึงกับข้อที่ 1.2

หากมีร้านค้า/บุคคล ที่เปิดจัดจำหน่ายสินค้าบนช้อปปี้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของท่านตามข้อที่ 1 ไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่งท่านสามารถร้องเรียนสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแก่ช้อปปี้ได้ โดยใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1. สินค้าปลอมแปลง / ละเมิดเครื่องหมายการค้า
             1.1 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเป็นตัวแทนจำหน่าย / ตัวแทนผู้ร้องเรียน)
             1.2 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
             1.3 รูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคากลางของผลิตภัณฑ์
2. ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบ
             2.1 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเป็นตัวแทนจำหน่าย / ตัวแทนผู้ร้องเรียน)
             2.2 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
             2.3 รูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
3. ละเมิดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์
             3.1 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเป็นตัวแทนจำหน่าย / ตัวแทนผู้ร้องเรียน)
             3.2 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
             3.3 รูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการดำเนินการจะแนะนำในหัวข้อถัดไป

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ 
นิยามของข้อนี้คือ “การนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ ในส่วนของรูปภาพและเนื้อหาสินค้าหรือที่เกี่ยวข้องกับรายการสินค้าที่ลงขาย โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ” นี่แหละครับ บทความนี้จะเน้นมาที่ข้อนี้เป็นหลัก
             ส่วนของข้อที่ 2 นี้ ท่านจะต้องยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้ครับ
             2.1 รูปภาพต้นฉบับ (มีลายน้ำ) โดยลายน้ำในที่นี้อาจหมายถึง สิ่งที่บ่งบอกหรือยืนยันได้ว่ารูปภาพนี้เป็นของท่าน เช่น โลโก้ที่อยู่บนภาพ ชื่อร้าน หรือข้อความ มุมใดมุมหนึ่ง หากไม่มีลายน้ำท่านอาจต้องไปหารูปภาพต้นฉบับมา เช่น ภาพที่ท่านถ่ายโดยที่ยังไม่ได้ตัดแต่งหรือปรับสีใด ๆ เป็นภาพที่คมชัดหรือพอที่จะแสดงได้ว่าภาพนี้เป็นภาพต้นฉบับของภาพที่ร้านอื่นทำการคัดลอกไปใช้งาน
             2.2 ลิงค์สินค้าหรือหลักฐานอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงการเป็นเจ้าของผลงาน เช่น ลิงก์สินค้าต้นฉบับของท่านที่เปิดขายอยู่บนช้อปปี้ หรือเว็บไซต์ของท่านที่ลงรูปภาพต้นฉบับ (เว็บไซต์ในที่นี้อาจรวมถึงสินค้าที่ท่านลงขายในแพลตฟอร์มอื่นด้วยก็ได้ เช่น ลิงก์สินค้าจากร้านในลาซาด้าของท่าน)
เมื่อมีหลักฐานครบถ้วนแล้ว ต่อไปก็มายื่นร้องเรียน “การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา” กัน

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบน Shopee

สรุปภาพรวมของเอกสาร/หลักฐานที่ต้องเตรียมอีกครั้ง

เอกสารสำคัญ/หัวข้อร้องเรียนเครื่องหมายการค้า / สิทธิบัตรทางอุตสาหกรรม / สิทธิบัตรการออกแบบละเมิดลิขสิทธิ์
กรอกฟอร์มคำร้องผ่านระบบใช่ใช่
หนังสือแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า / สิทธิบัตรอุตสาหกรรม / สิทธิบัตรการออกแบบใช้ไม่ใช้
หนังสือมอบอำนาจใช้ กรณีเป็นตัวแทนจำหน่าย / ตัวแทนผู้ร้องเรียนใช้
หนังสือรับรองใช้ กรณีเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทใช้ กรณีเป็นนิติบุคคลหรือบริษัท
ลิงค์สินค้าหรือหลักฐานอื่นๆที่บ่งบอกถึงการเป็นเจ้าของสิทธิ์ใช้ใช้ (ถ้ามี)
รูปภาพต้นฉบับ (มีลายน้ำ)ไม่ใช้ใช้

ที่มา/ดูตัวอย่างเอกสารฉบับเต็มได้ที่ : https://help.shopee.co.th/s/article/Intellectual-property-Shopee 

ขั้นตอนการดำเนินการร้องเรียนเมื่อโดนก็อปรูปสินค้าบนช้อปปี้

เริ่มต้นการร้องเรียน & ยื่นหลักฐาน

ขั้นตอนแรกนี้ จะเป็นขั้นตอนของการร้องเรียนช้อปปี้เกี่ยวกับการละเมิดที่เราเป็นผู้เสียหาย เช่น มีคนก็อปรูปสินค้าของเราไปใช้กับสินค้าอื่น หรือไปโพสขายเป็นสินค้าใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเรา หรือมีคนแอบอ้างขายสินค้าเดียวกับเราโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเหมือนเรา ก็สามารถใช้ฟอร์มที่จะแนะนำนี้ในการร้องเรียนได้เลย (อะไรที่เข้าข่ายร้องเรียนได้ให้ดูในหัวข้อด้านบน ส่วนของประเภทการละเมิดที่ Shopee ให้ความสำคัญ)

ไปยังฟอร์มร้องเรียนได้ที่เว็บไซต์ https://shopee-support.formstack.com/forms/ipr_th

ขั้นตอนที่ 1 ป้อนข้อมูลทั่วไปของผู้ร้องเรียน

เข้ามาที่หน้าแรก ให้เราป้อนข้อมูลตามนี้ก่อน
1. ชื่อผู้ร้องเรียน : ป้อนชื่อเรานี่แหละ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องเรียนและเจ้าของกรรมสิทธิ์ : หากเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น เราจะแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพที่เราถ่ายเอง/สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ในช่องนี้ให้เราป้อนเป็น “เจ้าของกรรมสิทธิ์” หรือ หากเราเป็นพนักงาน/เจ้าหน้าที่ ของห้างร้านบริษัทหรือแม้กระทั่งธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาก็แล้วแต่ ซึ่งมีคำสั่งมาให้เราดำเนินการ เราก็อาจป้อนเป็น “ผู้รับมอบอำนาจ” เป็นต้น
3. อีเมล์ผู้ร้องเรียน : ป้อนอีเมล์ของเรา ที่ช้อปปี้สามารถติดต่อแจ้งผลต่าง ๆ ได้
4. เว็บไซต์ผู้ร้องเรียน : หากเรามีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (Official Web Site) ของห้างร้าน/บริษัท หรือธุรกิจของเรา ก็ให้ป้อนเว็บไซต์ดังกล่าวของเราลงไป แต่หากไม่มีเว็บไซต์ ซึ่งเราขายอยู่บนช้อปปี้เพียงช่องทางเดียวก็ให้ป้อน URL ของร้านค้าของเราลงไป เช่น http://shopee.co.th/shop_username
5. ที่อยู่ผู้ร้องเรียน : หากเป็นห้างร้าน/บริษัท ก็แนะนำให้ป้อนเป็นที่อยู่ขององค์กร แต่หากจำหน่ายในนามบุคคลธรรมดาก็ป้อนเป็นที่อยู่ของร้านค้า เป็นต้น
6. เบอร์ติดต่อผู้ร้องเรียน : ป้อนเป็นเบอร์โทรศัพท์ของเรา ที่ช้อปปี้สามารถติดต่อแจ้งผล/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ ได้
7. ประเภทผู้ร้องเรียน อันนี้มี 2 ตัวเลือกครับ แนะนำให้เลือกตามนี้
    – เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา : ถ้าหากเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงาน เช่น ภาพสินค้าที่โดนก็อปไปเราเป็นคนถ่ายเอง (หรือตกแต่งสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง) หรือสินค้านี้ละเมิดสิทธิบัตรของเรา ให้เราเลือกข้อนี้เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในงาน
    – ตัวแทนคุ้มครองแบรนด์/นิติบุคคลหรือบริษัท (กรณีไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา) : ถ้าหากเราเป็นพนักงาน/เจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนของบริษัท/ห้างร้าน ที่มาดำเนินการแทนโดยได้รับการมอบอำนาจมา ให้เราเลือกข้อนี้ โดยเมื่อเลือกแล้วระบบจะให้แนบไฟล์เอกสาร “หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลหรือบริษัท” ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือรับรองได้ที่ https://ecert.dbd.go.th/e-service/index.xhtml
     * ดังนั้นหากเราเปิดร้านจำหน่ายสินค้าบนช้อปปี้ในนาบุคคลธรรมดา ให้ร้องเรียนในนาม “เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา” จะง่ายกว่าซึ่งไม่ต้องแนบเอกสารใด ๆ
    – หน่วยงานกฏหมาย (Law Firm) : หากท่านเป็นหน่วยงาน/บริษัท ที่รับดูแลหรือเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย มาดูแลเรื่องของการร้องเรียน ให้ท่านเลือกข้อนี้ โดยเมื่อเลือกแล้วระบบจะให้แนบไฟล์เอกสาร “เอกสารเพิ่มเติม” เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนคุ้มครองแบรนด์/นิติบุคคลหรือบริษัท พร้อมทั้งมีช่องให้กรอก “ชื่อหน่วยงานกฏหมาย” เพิ่มเติมอีก 1 ช่อง
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว กดปุ่ม “ถัดไป”

ขั้นตอนที่ 2 ป้อนข้อมูลของสินค้าที่ละเมิดบนช้อปปี้

ในขั้นตอนนี้ เราจะป้อนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกละเมิดบนช้อปปี้พร้อมทั้งเหตุผลและรายละเอียดเกี่ยวกับการร้องเรียน
1. ลิงก์ URL ของสินค้าที่ละเมิดบนช้อปปี้ : ในส่วนนี้ให้แนบไฟล์ Excel หรือ Word ที่มีการนำลิงก์ของสินค้าที่แอบก็อปรูปภาพของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตมารวบรวมไว้ ผู้เขียนได้ทำตัวอย่างฟอร์มไว้ให้แล้วที่เว็บไซต์ https://docs.google.com/document/d/1svy3mn6mRZcx6tRn7fLJQGGCZE8twpi4jtrzNMms3_o/
2. ชื่อยี่ห้อ : หากเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ของเราให้ป้อนชื่อแบรนด์ของเรา, หากเป็นสินค้าทั่วไปให้ป้อนชื่อแบรนด์ของสินค้า, หากเป็นสินค้าทั่วไปที่ไม่มีแบรนด์ เช่น สินค้าจากโรงงานที่มีการนำเข้าจากจีนให้ป้อน ไม่มียี่ห้อ
3. โปรดระบุ ประเทศที่มีการลงขายสินค้าละเมิด : ให้เลือก “ไทย”
4. ประเภทการร้องเรียน : ให้เลือกตามหัวข้อที่ต้องการ เช่น หากต้องการแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพสินค้า ให้เลือกเป็น “ละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพ” เป็นต้น
5. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช่หรือไม่ : เลือก “ใช่”
6. ได้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศที่มีการขายผลิตภัณฑ์ (ที่ละเมิดลิขสิทธิ)ดังกล่าวใช่หรือไม่ : ส่วนนี้หากมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาไว้ให้เลือก “ใช่” แต่หากไม่มีการจดไว้ (เช่น วันนี้เราแค่มาร้องเรียนเกี่ยวกับร้านค้าที่ก็อปรูปภาพสินค้าที่เราเป็นผู้สร้างสรรค์ไปใช้ โดยเราไม่ได้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือรูปภาพสินค้าไว้) ก็ให้เลือก “ไม่”
7. เหตุผลของการร้องเรียน : ให้ป้อนเหตุผลที่เรามาร้องเรียนให้ช้อปปี้มีการตรวจสอบในวันนี้ ยกตัวอย่างข้อความ เช่น เรียนทีมงานช้อปปี้ ประเทศไทย ร้านค้า <ชื่อร้านของเรา> ซึ่งเปิดจัดจำหน่ายสินค้าอยู่บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ตามลิงก์ร้านค้าคือ <ใส่ลิงก์ร้านค้าของเรา เช่น https://shopee.co.th/username_shop> ขอร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพสินค้าที่ทางร้านมีการ (สร้างสรรค์ | ตกแต่ง) ขึ้น เพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีการจัดจำหน่ายสินค้าดังกล่าวอยู่บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ โปรดดำเนินการตรวจสอบข้อมูลตามไฟล์เอกสารแนบของเราข้างต้น ซึ่งมี URL ของสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ และโปรดดำเนินการหยุดการเผยแพร่ ระงับหรือลบสินค้าดังกล่าวทิ้งตามดุลพินิจที่เหมาะสม เป็นต้น
8. รูปภาพสินค้าพร้อมลายน้ำ : ให้เราอัพโหลดรูปภาพสินค้าต้นฉบับของเรา (ซึ่งต้องแสดงให้เห็นในส่วนใดส่วนหนึ่งว่ารูปภาพสินค้านี้เราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริง ๆ ทีมงานจะตรวจสอบได้ง่ายกว่า เช่น เรามีข้อความตัวหนังสือชื่อร้านบาง ๆ เป็นลายน้ำอยู่ หรือมีภาพโลโก้ร้านค้าที่มุมของรูปภาพ เป็นต้น) โดยหากมีรูปภาพสินค้ามากกว่า 1 รูป สามารถนำรูปภาพสินค้าทั้งหมดแทรกใส่ไฟล์ Word และอัพโหลดไฟล์ดังกล่าวเข้ามา (ไฟล์ไม่ควรเกิน 3MB) หรือแนบเป็นรูปภาพเข้ามาเลยก็ได้ โดยไม่ต้องแทรกใส่ไฟล์ Word ซึ่งหากรูปภาพมีขนาดใหญ่เกินไป (>3MB) สามารถนำไปลดขนาดได้ที่ https://tinypng.com (ภาพต้นฉบับที่อัพโหลดเข้าไป รองรับสูงสุด 5MB) โดยอัพโหลดรูปภาพสินค้าของเราเข้าไป จากนั้นรอให้ระบบบีบอัดรูปภาพเสร็จสิ้น และดาวน์โหลดกลับมา จากนั้นค่อยนำมาอัพโหลดในฟอร์มร้องเรียนอีกครั้ง
9. ข้อมูลอื่น ๆ : หากเราคิดว่ารูปภาพสินค้าพร้อมลายน้ำที่เราอัพโหลดเข้าไปในข้อ 8 ยังไม่เพียงพอที่จะให้ทีมงานช้อปปี้ตัดสินได้ ในส่วนของข้อมูลอื่น ๆ เราสามารถที่จะแนบรูปภาพสินค้าดังกล่าว ในเวอร์ชั่นที่ยังไม่ได้รับการตกแต่งใด ๆ เช่น ยังไม่ได้ปรับสี ยังไม่ได้ปรับแสง ยังไม่ได้แต่งโน้นนี่ เพื่อประกอบให้ทีมงานสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ได้ว่าเราเป็นเจ้าของต้นฉบับของรูปภาพสินค้าดังกล่าวจริง ๆ
10. คำประกาศจากผู้ร้องเรียน : อ่านให้ครบ และหากเรา “มีสิทธิและอำนาจในการร้องเรียนนี้” ให้เลือก “ใช่”
11. เซ็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร้องเรียน (กรณีเซ็นผิด เซ็นพลาด สามารถกดปุ่มลบที่มุมขวาล่างแล้วเซ็นใหม่ได้)
และเมื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลทุกอย่าง อย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม “ยืนยัน” เป็นอันเสร็จสิ้น

ขั้นตอนที่ 3 รอทางทีมงานติดต่อกลับ

หลังจากที่เราแจ้งร้องเรียนผ่านการกรอกแบบฟอร์มไปแล้ว เราจะได้รับอีเมล์ยืนยันการร้องเรียน โดยจะส่งเข้าอีเมล์ของผู้ร้องเรียนที่ได้กรอกไว้ในฟอร์มข้างต้น และจะมีทีมงานคอยตรวจสอบคำร้องของเราและตอบกลับโดยเร็วที่สุด หรือหากกรณีเคสการร้องเรียนได้รับการตรวจสอบและดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะมีอีเมล์แจ้งผลการดำเนินการให้เราทราบ ตัวอย่างเช่นดังอีเมล์ต่อไปนี้

เทคนิคการป้องกันร้านอื่นก็อปรูปภาพสินค้า

ใส่โลโก้ร้านค้าของเราเพื่อป้องกันร้านค้าอื่นก็อปรูปภาพสินค้าไปใช้งาน
ใส่ลายน้ำชื่อร้านค้าของเราเพื่อป้องกันร้านค้าอื่นก็อปรูปภาพสินค้าไปใช้งาน

สำหรับบทความนี้คาดว่าคงเป็นแนวทางสำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ในการดำเนินการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์รูปภาพสินค้าบนช้อปปี้ โปรดนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสิทธิ์ของร้านค้าของท่านเอง

ข้อปฏิเสธความรับผิด (Disclaimer) ผู้เขียนไม่ได้ให้การรับรองหรือรับประกันใด ๆ ถึงความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาของบทความนี้ และผู้เขียนขอปฏิเสธอย่างชัดแจ้งว่าไม่ได้ให้การรับรองหรือรับประกันใด ๆ ทั้งสิ้นต่อเนื้อหาของบทความนี้ โดยข้อแนะนำที่ปรากฏในเนื้อหานี้อาจไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์บางลักษณะ เนื้อหาของงานนี้จึงไม่ใช่การให้คำปรึกษาทางกฎหมายหรือคำปรึกษาทางวิชาชีพใด ๆ ทั้งสิ้น หากผู้อ่านจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาที่เกี่ยวข้อง ผู้อ่านจำเป็นต้องติดต่อขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของแพลตฟอร์มช้อปปี้โดยตรง ผู้เขียนจึงไม่มีความรับผิดชอบและไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อความเสียหายที่อ้างว่าเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามเนื้อหาของบทความนี้ และหากมีการอ้างอิงใด ๆ ถึงบทความนี้ไม่ว่าในรูปแบบใด ผู้เขียนขอปฏิเสธอย่างชัดแจ้งไม่ให้การรับรองหรือการรับประกันการอ้างอิงนั้น เนื้อหาหลายประการในที่นี้อาจล้าสมัยหรือไม่เหมาะสมในหลายสถานการณ์เมื่อเวลาผ่านไป รายการอ้างอิงทางเว็บไซต์ใด ๆ ในบทความนี้ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือสูญหายไปได้ เมื่อเวลาที่ท่านได้อ่านบทความ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการคุกกี้ได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์/แพลตฟอร์มทำงานได้และเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราสามารถให้บริการตามที่คุณร้องขอได้ ตัวอย่างเช่น คุกกี้ที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่ปลอดภัยได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำและนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้มีคุณภาพดีขึ้นและมีความเหมาะสมมากขึ้น อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้บริการ และวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ _ga, _gid, __gads, _gat_UA-*,_gat_gtag_UA_*

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะจดจำการตั้งค่าของผู้ใช้บริการในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ และนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกแสดงโฆษณาสินค้าที่คุณสนใจ การป้องกันหรือการจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นหน้าเว็บไซต์ของโฆษณาซ้ำ ๆ เพื่อช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณา รายการคุกกี้ประกอบไปด้วยคุกกี้ fr, _fbp, _fbc

บันทึก